วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Play Dough Recipe For Kids

Play Dough Recipe: {Great Gift Idea} No Cook PlayDough

Play Dough Recipe: 

No Cook PlayDough We recently made the softest, almost silky play dough recipe. My kids love to mold and create with play dough but this would also make a great gift idea.

 This is the EASIEST play dough recipe because it is no cook play dough. It only uses two ingredients and under 10 minutes to make. Kids Activities Blog hopes you can use this as a staple “emergency birthday gift” idea. Play Dough Recipe

NOTE: This is inedible play-dough and should not be used with kids who are still putting things into their mouths.

So what did we need to create our silky play dough?? Hair conditioner and corn starch. That’s it.
We added some food coloring for diversity. Think of this as a mix between playdough and cloud dough. It is light and airy like cloud dough, but molds better as the conditioner helps the cornstarch become more pliable.

วิธีเพิ่มพลังศักยภาพสมองด้วยเทคนิค “แผนผังความคิด”

วิธีเพิ่มพลังศักยภาพสมองด้วยเทคนิค “แผนผังความคิด”


เพิ่มพลังศักยภาพสมองด้วยเทคนิค “แผนผังความคิด
                แสนล้านเซลล์ในสมองน้อยๆ จะถูกกระตุ้นให้ทำงานได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับการที่เด็กๆ ได้มีการฝึกจัดการระบบความคิดเชื่อมต่อข้อมูลที่มีอยู่ในสมองโดยการฝึกทำ Mind Maps ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ฝึกการสร้างแผนผังความคิดในสมอง รู้จักการนำข้อมูลมาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ และช่วยทำให้สมองสดใสนำไปสู่ความคิดใหม่ๆอย่างไร้ขีดจำกัด
                มาฝึกลูกน้อยสร้างแผนผังความคิดในสมอง ด้วยเกม แผนผังมหัศจรรย์ตามหาสมบัติล้ำค่า กันค่ะ
ฝึกลูกคิดเป็นระบบ...ด้วยเกมวาดแผนผัง
                การวาดแผนผังเป็นการฝึกกระบวนการคิดแบบ Mind Maps อย่างหนึ่ง ลองชวนลุกน้อยวัย 4-5 ขวบ เล่นเกมแผนผังตามหาสมบัติภายในบ้านกันค่ะ
                วิธีการเล่น...คุณแม่ตั้งโจทย์ขึ้นมาว่า วันนี้จะให้ลูกน้อยตามหาตุ๊กตาตัวโปรด ที่คุณแม่ซื้อให้เป็นของขวัญสำหรับเด็กดีโดนมีกติกาว่า ให้ลุกน้อยวาดแผนผังในบ้าน ซึ่งแต่ละจุดที่ลูกเดินผ่านคุณแม่จะติดสติ๊กเกอร์รูปต่างๆ ไว้ แล้วลองลองให้ลูกน้อยวาดแผนผังจากจุดที่ตัวเองเดิน เมื่อวาดครบทุกรูปก็จะได้ของขวัญแน่นอน หรือให้วาดแผนผังภายในบ้าน แล้วคุณแม่ทำสัญลักษณ์ไว้ตามมุมต่างๆ ให้ลูกน้อยเดินตามแผนผังแล้วจับคู่ว่าสัญลักษณ์ในแผนผังเหมือนกับสัญลักษณ์ภายในบ้านตรงมุมไหนบ้าง หรือจะเป็นรูปแบบเกมแผนผังแบบไหน ลองช่วยกันคิดกติกากับลุกน้อยก็ได้นะคะ
แผนที่มหัศจรรย์...ฝึกมิติสัมพันธ์ลูกน้อย
                การที่ลูกน้อยได้ฝึกวาดแผนผัง จะเป็นการฝึกมิติสัมพันธ์ได้อย่างดี เด็กจะสามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ มีการสังเกตว่าสัญลักษณ์แบบนี้อยู่ตรงไหนของบ้านบ้าง ถ้าเดินต่อไปจะเป็นห้องอะไร หรือควรจะเดินไปทางไหนต่อ เป็นการกระตุ้นสมองช่วยให้เกิดกระบวนการคิดวางแผนอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงความคิดไปสู่เรื่องต่างๆ ได้อย่างดีค่ะ
                Mind Maps เป็นเทคนิคที่ทำให้สมองมีการทำงานรวดเร็ว เสมือนเป็นการสะท้อนวิธีการคิดอย่างสร้างสรรค์ออกมา ให้เด็กๆ ได้วางแผนและทำงานเป็นขั้นตอน มีการรวบรวมข้อมูลที่ได้เห็น ได้อ่านแล้วนำมาจัดเรียงอย่างเป็นระบบ ช่วยให้สมองมีการทำงานอย่างมีคุณภาพ มีการเชื่อมต่อเซลล์สมองที่ดี ต่อยอดจินตนาการให้ลุกน้อยอย่างไม่รู้จบค่ะ

Mind Map มีผลต่อการจำอย่างไร?
หลายคนสงสัยว่า เหตุุใดแค่การลากปากกาสีชีดเส้นเชื่อมโยงสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน มีคำสั้นๆคอยให้ความหมายกำกับ จึงกลายเป็นเครื่องมือช่วยจำชั้นยอด 
"คนเราจะจำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้มากจากเหตุผลสองประการ คือสิ่งนั้นมีความสำคัญกับชีวิตเรา เราจึงจะจำ ส่วนข้อสองก็คือเกิดจากการทำซ้ำบ่อยๆ จนจำได้ไปเอง เช่น ชื่อเราจำได้ เพราะมีความสำคัญกับเรา  คนเราคิดว่าฟังครั้งเดียวเห็นแล้ว จะคิดว่าจะได้ แต่มันไม่ใช่ ต้องทำซ้ำๆ ถ้าใช้ Mind Map จะเน้นการทำงานของสมองทั้งสองซีก ซึ่งจะนำไปสู่ความจำ ยกตัวอย่างเหมือนเราเห็นตัวหนังสือ เราจะจำไม่ค่อยได้ แต่พอเป็นภาพเป็นสี เราจำง่ายขึ้น เพราะสมองเราจะจำเป็นภาพ เราก็เอาความคิดความรู้ที่มีมาทำให้เป็นภาพเป็นสี เราก็จะจำได้"

กฏง่ายๆของการใช้ Mind Map
1. แก่นแกน (ภาพหัวเรื่อง) มีขนาดพอเหมาะ ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป
2. ห้ามล้อมแก่นแกนด้วยเส้นรอบวงใดๆทั้งสิ้นเว้นแต่ว่ามีนัยสัมพันธ์กับเรื่องนั้นๆ
3. เส้นของกิ่งแก้วต้องเชื่อมโยงกับแก่นแกนเสมอ
4. กิ่งก้อยที่แตกออกมาจากกิ่่งแก้วควรมีสีเดียวกันเพื่อการจำง่าย
5. เส้นต้องมีความยาวสัมพันธ์กับคำหรือภาพ
6. ต้องแตกกิ่งที่จุดสุดท้ายของเส้นเสมอ
7. เส้นทุกเส้นของกิ่่งแก้วและกิ่งก้อยต้องเชื่อมโยงกัน อย่าเขียนให้ขาดหรือแหว่าง
8. คำยิ่งสั้นยิ่งดี
9. เวลาเขียน Mindmap บนกระดาษแผ่นเดียว อย่าหมุนกระดาษจนเป็นวงกลม จนทำให้คำบางคำกลับหัว
10. ห้ามเขียนภาพ หรือคำแล้วล้อมด้วยวงกลม หรือรูปเหลี่ยม
11. ห้ามเขียนคำ/ภาพปิดท้ายเส้น
12. ห้ามเขียนคำ/ภาพทั้งบนและใต้กิ่งเดียวกัน
13. ไม่ควรใช้วลีหรือประโยคใน Mind Map เลือกแต่คำที่เป็นประเด็นหลักเท่านั้น

ตัวอย่างที่ถูกต้องเป็นแบบนี้คะ

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทความเกี่ยวกับ การสอนเรื่องเพศให้แก่ลูกน้อย



มีใครเคยเจอคำถามแบบนี้บ้างมั้ยคะ แล้วคุณพ่อคุณแม่ตอบลูกว่าอย่างไรกันบ้างเอ่ย วันนี้ป่านมีบทความและข้อแนะนำในการตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องเพศ มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้ลองอ่านกันนะคะ


พฤติกรรมเด็กวัย 3-6 ขวบ..หนูเกิดมาทางไหน
บทความวิชาการ..โดย พ.ญ. วินัดดา ปิยะศิลป์

วัย 3 – 5 ปี จะเป็นช่วงที่เด็กสนใจในเรื่องเพศได้บ่อย โดยแสดงออกมาอย่างเปิดเผย จะคอยซักถามว่าแม่คลอดหนูมาอย่างไร หนูเกิดมาทาไหน ทำไมหนูถึงไม่เหมือนพี่ชาย ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ ที่เด็กสนใจเป็นเรื่องธรรมชาติ ถ้าพ่อแม่ตอบสิ่งที่เด็กอยากรู้ง่าย ๆ ตรงไปตรงมา เท่าที่เด็กวัยนี้ควรจะรู้ คนสนใจของเด็กก็จะได้รับการตอบสนอง สุดท้ายก็จะเปลี่ยนความสนใจ ไปยังสิ่งอื่น ๆ ที่เข้ามาในชีวิต

พฤติกรรมของเด็กที่ให้ความสนใจในเรื่องเพศมากว่า หรือเล่นอวัยวะเพศของตนเอง ที่ผู้ใหญ่ควรเข้าไปขัดขวาง 

1. กระทำบ่อย ๆ จนไปขัดกับพัฒนาการในด้านอื่น หรือทำให้หมกมุ่นไม่สนใจสิ่งอื่น ๆ
2. ขาดกาลเทศะ ทำไปทุกที่ ขาดการยับยั้งตัวเอง
3. กระทำติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ ไม่มีท่าทีที่จะเลิก
4. รุนแรง จนอาจเกิดอันตรายต่อเด็ก

สาเหตุที่เด็กวัยอนุบาลสนใจเรื่องเพศมาก 

1. เป็นธรรมชาติ เป็นการเรียนรู้ตามวัย
2. ได้รับสิ่งกระตุ้นความรู้สึก เช่น การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศที่เกินสมควร ได้เห็นภาพที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ
3. ถูกล่วงเกินทางเพศ
4. ถูกทิ้งไว้คนเดียวนาน ๆ จนเด็กมีเวลาสำรวจตัวเอง เมื่อค้นพบความรู้สึกที่แปลกออกไปจะติดใจ

วิธีการช่วยเหลือ 

1. ลดสิ่งกระตุ้นความรู้สึกทางเพศทั้งหมด
2. สังเกตและป้องกันอันตรายแก้เด็ก ผู้ที่ล่วงเกินเด็กและอยู่ใกล้ชิดกับเด็ก ถ้ากระทำไม่รุนแรงกับเด็กมากนัก จะทำให้เด็กไม่กลัว ทำให้พ่อแม่จับสังเกตได้ยาก
3. เพิ่มคุณภาพการเล่นและการออกกำลังกาย เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ
4. อย่าปล่อยให้เด็กอยู่คนเดียวนาน ๆ ให้ความใกล้ชิด แต่อย่าคอยทักพฤติกรรมที่เด็กทำ พยายามชี้ชวนเบี่ยงเบนความสนใจ

‘เรียนรู้เรื่องเพศในแต่ละช่วงอายุ
 โดย นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
จากรายการปัญหาชีวิตและสุขภาพ แพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2549 นำเสนอเรื่อง “วัยรุ่นกับเพศสัมพันธ์” ทำให้สังคมตระหนักชัดว่า สังคมประเทศไทยนี้มีปัญหาเรื่องการร่วมเพศก่อนวัยอันควร ไม่รู้จักป้องกันการตั้งครรภ์ ทำให้มีบุตรนอกสมรส ขาดผู้รับผิดชอบและความรับผิดชอบต่อเด็กในครรภ์และเด็กที่จะเกิดมาส่งผลตามมาอีกมากมาย
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล   รามาธิบดี สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้คำแนะนำในเรื่องนี้ดังนี้
การสอนเพศศึกษาในแต่ละช่วงอายุ
กุมารแพทย์ควรจะมีบทบาทในการสอนเพศศึกษาแก่พ่อแม่ และเด็กตั้งแต่เล็กในคลินิกตรวจสุขภาพซึ่งควรจะขยายเป็นทุกอายุจนถึงวัยรุ่น เนื้อหาที่จะสอนหรือให้ความรู้ในแต่ละด้าน ควรให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย จำแนกออก เป็นช่วงเด็กเล็กหรืออนุบาล (3-5 ขวบ), ประถมตอนต้น (6-8 ขวบ), ประถมตอนปลาย (9-11 ขวบ), มัธยมต้น (12-14 ปี) และมัธยมปลาย รวม ปวช. (15-17 ปี)

เมื่อลูกอายุ 0-3 ขวบ : เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้ผิดเพศ
พัฒนาการของเด็กวัยนี้เรียนรู้ที่จะรู้จักความ รัก ความผูกพัน และสร้างความไว้วางใจแม่ ผ่านพฤติกรรมแม่ (การมอง พูด คุย อุ้ม สัมผัส สีหน้าแววตา) ที่คอยตอบสนองอย่างพอเหมาะต่อความต้องการพื้นฐานของเด็ก เริ่มเรียนรู้ที่จะดุว่าใครรักหรือไม่รัก และเด็กเริ่มที่จะต้องการช่วยตัวเองใน เรื่องกิจวัตรประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารด้วยตนเอง อยากช่วยพ่อแม่ทำกิจกรรมงานบ้าน แต่ ไม่สามารถทำได้ เป็นการเพิ่มภาระให้แม่มากกว่า

บทบาทพ่อแม่ในการเลี้ยงลูกวัยนี้ควรให้ความรักและตอบสนองลูกอย่างพอเหมาะและสม่ำเสมอ เพื่อให้ลูกไว้วางใจพ่อแม่ และสนับสนุนให้ เด็กได้ช่วยตัวเอง เรื่องการรับประทานอาหารและงานที่ลูกอยากทำ แม้ว่าจะทำได้ไม่ดีนักก็ตาม ตลอด จนการเลี้ยงลูกให้ตรงตามเพศของเด็ก เพื่อให้เด็กสามารถแยกเพศได้โดยเรียนรู้เพื่อรู้จักเพศของตนเอง และรู้จักเพศตรงข้าม เพราะถ้าเลยอายุนี้ เด็กยังไม่รู้ว่าตนเป็นเพศใด อาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศได้เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

การสอนเด็กวัยอนุบาล (3-5 ขวบ)
พัฒนาการทางเพศ
เด็กจะเริ่มเรียนรู้ความแตกต่างทางสรีระภายนอกระหว่างเด็กหญิงและเด็กชาย สำหรับพ่อแม่การตอบคำถามลูก ควรใช้วิธีคุยมากกว่าตอบ อย่างเดียว โดยมีหลัก 4 ประการ ในการพูดคุยกับลูกดังนี้
1. ไม่ดุว่าลูกเมื่อลูกถามเรื่องเพศ เพื่อให้ลูกรู้สึกว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องปกติที่สามารถถามและพูดคุยกับพ่อแม่ได้
2. ตอบคำถามของเขาด้วยกิริยาท่าทางปกติ เหมือนอธิบายเรื่องทั่ว ๆ ไป
3. ใช้คำพูดและเหตุผลง่าย ๆ ตามความเป็นจริง ไม่หลอกหรือขู่
4. ตั้งใจฟังและให้เวลาแก่ลูก
5. ใช้การพูดคุยมากกว่าตอบคำถามอย่างเดียวและการตอบควรตอบตรงไปตรงมา ใช้คำพูดง่าย ๆ สั้น ๆ เช่น

ถาม ทำไมนมหนูเล็ก นมคุณแม่ใหญ่
ตอบ ตอนนี้หนูยังเล็ก มือก็เล็ก เท้าก็เล็ก นมก็เล็ก เล็กไปทุก ๆ ส่วน เมื่อหนูโตขึ้น อวัยวะทุก อย่างก็ค่อย ๆ โตตามด้วย ดังนั้น เมื่อหนูโตเท่าแม่ นมหนูก็จะโตเหมือนแม่

ถาม หนูเกิดมาจากไหน
ตอบ หนูเกิดจากท้องแม่

ถาม แล้วหนูออกมาได้อย่างไร
ตอบ เป็นคำถามที่ยากขึ้นแต่เด็กไม่ได้สนใจว่า เขาออกมาจากช่องไหน ดังนั้น ควรใช้คำตอบกลาง ๆ ว่า “หมอช่วยลูกออกมา ลูกถึงได้แข็งแรงและน่ารัก แบบนี้”

การสอนเด็กปฐมวัย 6-8 ขวบ  
1. พัฒนาการทางเพศ เด็กจะเริ่มเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างหญิงและชายในด้านบทบาททางสังคม

เด็กวัย 6-8 ขวบ ร่างกายกำลังเจริญเติบโต มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วยตนเอง ชอบซักถาม ชอบลองทำในสิ่งที่ท้าทายความ สามารถ ต้องการเพื่อน ชอบแข่งขัน ชอบเล่นเป็นกลุ่ม ชอบแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ต้องการให้คนสนใจ ชอบคนยกย่องชมเชย และต้องการการยอมรับจากครูและเพื่อน แต่ยังต้องการความสนับสนุนจากพ่อแม่ ทั้งด้านการเรียน การเล่น การเข้าสังคม การปรับตัว การควบคุมอารมณ์ และการสร้าง จริยธรรม

เด็กจะมีการเล่นโดยแยกเพศ เด็กจะรวมกลุ่มในเพศเดียวกัน ความสัมพันธ์กับเพศเดียวกันนี้ ช่วยเน้นเอกลักษณ์ทางเพศของเด็ก เด็กผู้ชายสนใจการเล่นที่ใช้แรง ให้ความสนใจในการเข้าสังคม น้อยกว่าเด็กผู้หญิงซึ่งชอบอยู่รวมกลุ่มกัน ชอบเล่นเกมที่ใช้แรงน้อย และให้ความสนใจในการเข้าสังคม การที่แยกกลุ่มจะทำให้เด็กแต่ละเพศเริ่มเรียนรู้พฤติกรรมเฉพาะเพศจากเพื่อน ๆ
เมื่อผ่านวัยที่แล้วมาเด็กจะมีความรู้สึกว่าตนเป็นเพศใด และเริ่มบทบาทที่เหมาะสมกับเพศของตน และรู้จักพัฒนาตนเองให้เข้ากับเพื่อนเพศเดียวกัน โดยสามารถสนใจ มีกิจกรรมรวมทั้งมีความ คิดฝันทางเพศร่วมกับเพื่อนได้ กิจกรรมทางเพศของเด็กในวัยนี้คือ เขาจะมีการเล่นสมมุติ โดยแสดง เป็นพ่อแม่หรือสามีภรรยาในหมู่เพื่อน

เด็กวัยนี้ถูกแนะนำเข้ามาในโลกทางเพศของผู้ใหญ่โดยหนังสือนวนิยาย ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และการสังเกตสิ่งแวดล้อมประจำวันรอบ ๆ ตัว ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องเพศจะค่อยเกิดขึ้นภายในจิตใจ เด็กจะเรียนรู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรถูก อะไรผิด มีการใช้ dirty word dirty action เพิ่มมากขึ้น ความรู้ที่ได้มาคล้ายกับการต่อภาพจิ๊กซอว์ คือ เด็กจะค้นพบความเป็นจริงไปทีละเล็กทีละน้อย
เป็นช่วงที่มีความสำคัญในการสอนทักษะ การใช้ชีวิต 12 องค์ประกอบ คือ มีความคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ สำรวจความคิดสร้างสรรค์ สร้างสัมพันธภาพ กับผู้อื่นได้ มีการสื่อสารที่ดี ตัดสินใจด้วยเหตุผลมากกว่าใช้อารมณ์แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า มีความสามารถจัดการกับอารมณ์และความเครียด ประกอบกับรู้จักตนเอง ภูมิใจในตนเอง มีวินัยและมีความรับผิดชอบ มีความเห็นใจผู้อื่น และรู้จักรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาจะเป็นภูมิคุ้มกันให้เด็กเข้มแข็ง ดูแลตนเอง พอใจในเพศของตนเอง ปรับตัวและพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด
การเลี้ยงลูกในวัยนี้ จะเหมือนกับช่วงวัย 3-5 ขวบ แต่ควรเน้นเรื่องวินัยและความรับผิดชอบ มอบหมายให้ทำ ฝึกในการเล่น เพื่อเพิ่มทักษะ และความสำเร็จ เน้นคุณภาพในการสื่อสารระหว่างพ่อแม่ลูก ฝึกให้เด็กหัดตัดสินใจด้วยเหตุผล และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเอง ตั้งแต่งานง่าย ๆ ไปสู่งานที่ยาก ฝึกทักษะด้านต่าง ๆ ให้ลูก เพื่อให้เด็กมีความรับผิดชอบ เป็นตัวของตัวเอง มีความนับถือตนเอง เชื่อมั่นในตนเอง ในขอบเขตที่เหมาะสม รับรู้คุณค่าของตนเองและผู้อื่น มีความสุขและมีสังคมเพิ่มขึ้น
2.  สุขอนามัยทางเพศ การดูแลรักษาความสะอาด, การทำความสะอาดหลังการขับถ่าย, การสังเกตความผิดปกติของอวัยวะเพศ/อุบัติเหตุจากการเล่น

3.  พฤติกรรมทางเพศ เรื่องเพศเป็นเรื่องส่วนตัว (การปกปิดร่างกาย, การพูดคำหยาบ, การเคารพสิทธิในร่างกายของผู้อื่น, การแต่งกายให้เหมาะสมกับเพศ)
* กรณีลูกเอาหนังสือโป๊มาดู
ก่อนอื่นพ่อแม่ต้องเข้าใจธรรมชาติ ความ อยากรู้อยากเห็นของเด็กไม่ควรตำหนิหรือดุว่า แต่ควรจะสอนหรือแนะนำให้เด็กรู้จักเลือกสื่อเพื่อการศึกษา ไม่ใช่สื่อเพื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ และ น่าจะถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจจากวัยเด็กเป็นผู้ใหญ่ หรือการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาในด้านต่าง ๆ เพราะเด็กให้ความสนใจและมีความอยากรู้ การที่เด็กได้รับความรู้จากพ่อแม่หรือครูไม่เพียงพอ เด็กก็จะแสวงหาเอง ซึ่งอาจจะรับสื่อที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้เด็กมีความรู้และทัศนคติตลอดจนพฤติกรรม ที่ไม่ถูกต้องได้.

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

12 วิธีเลี้ยงลูกให้ดี EQ สูง


12 วิธีเลี้ยงลูกให้ดี EQ สูง

วันนี้เราจะมาคุยกันด้วยเรื่อง จะเลี้ยงลูกให้มี E.Q.สูงได้อย่างไร เรื่องของ I.Q.หรือระดับสติปัญญานั้นขึ้นกับปัจจัยหลักคือสมองและระบบประสาทที่ดี พร้อมที่จะรับรู้ข้อมูลและเรียนรู้ อิทธิพลที่มีผลของระดับสติปัญญาขึ้นกับพันธุกรรม (Gene) ค่อนข้างมาก พูดง่ายๆ ก็คือถ้าพ่อแม่เฉลียวฉลาดย่อมมีโอกาสสูงที่ลูกจะเฉลียวฉลาดเช่นกันปัจจัยอื่นๆก็คือการได้รับสารอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของสมองตั้งแต่ เด็กยังอยู่ในครรภ์และตลอดช่วงวัยเด็ก นอกจากนั้นยังต้องได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสมด้วย จะเห็นว่าเรื่องของพันธุกรรมเป็นเรื่องที่่เราควบคุมไม่ได้ แต่เรื่องของ E.Q.นั้น เราสร้างเสริมให้ลูกได้ทั้งสิ้น ลองมาดูกันเลยครับว่า12 วิธีเลี้ยงลูกให้ดี... E.Q.สูง มีอะไรกันบ้าง
  1. ให้ความรัก เป็นข้อแรกที่สำคัญมากและไม่เพียงแต่ให้ความรักเท่านั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องแสดงออกอย่างเหมาะสมอีกด้วย บางคนรักลูกแต่ไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงความรักออกมาให้ลูกเห็นเลย การยิ้มให้ การสัมผัส การกอด โอบไหล่ ล้วนแล้วแต่เป็นภาษากายซึ่งบ่งบอกถึงความรักได้เป็นอย่างดี
  2. ครอบครัวมีสุข คือ การที่คุณพ่อและคุณแม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และรวมถึงการมีทัศนคติ ความคิดเห็นในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนลูกไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน หรือถ้ามีความขัดแย้งบ้างก็จะมีการพูดคุยกัน ตกลงกันให้เป็นทิศทางเดียวกันคือเป็นทีมเดียวกันนั่นเอง ผมขอยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ขัดกันเองในการวางกฎเกณฑ์ มีครอบครัวหนึ่งลูกอายุประมาณ 2-3 ขวบ ร้องไห้เพราะอยากเล่นลิปติกของแม่ คุณผู้หญิงทั้งหลายคงทราบดีว่าที่คุณแม่ไม่ยอมให้ลูกเล่นเพราะลิปติกจะหักเสียหาย แต่เวลาอยู่กับพ่อ พ่ออนุญาติให้ลูกเล่นได้หรือพ่อเห็นลูกร้องไห้ ก็ต่อว่าแม่ต่อหน้าลูกว่า "เรื่องแค่นี้เอง ก็ให้ลูกเล่นไปสิ" เด็กเองก็จะสับสน ไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ว่าเรื่องนี้ควรทำหรือไม่ควรทำ ดังนั้นผู้ใหญ่จึงควรตกลงกันด้วยเหตุผลให้เรียบร้อยก่อน จะได้ควบคุมเด็กให้ไปในทิศทางเดียวกัน
  3. มีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของลูก จะทำให้เราเข้าใจและปฏิบัติต่อลูกได้ถูกต้องและเหมาะสม ท่านผู้อ่านเชื่อหรือไม่ครับว่าพัฒนาการไม่ได้หยุดหรือหมดไปเมื่อพ้นวัยอนุบาล แต่มีต่อเนื่องโดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นก็มีพัฒนาการของวัย และสำคัญมากด้วยน่าเสียดายที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนปฏิบัติต่อลูกที่เข้าวัยรุ่นแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์เพราะคิดว่าลูกเหมือนก็เมื่อ2-3 ปีก่อน ยกตัวอย่างเช่น คุณพ่อคุณแม่บางคนอยากรู้เรื่องของลูกก็ใช้วิธีแอบฟังโทรศัพท์เวลาลูกคุยกับเพื่อน แอบเปิดค้นกระเป๋า แอบดูไดอารี่ สมุดบันทึกของลูก เกือบร้อยทั้งร้อยครับที่ลูกวัยรุ่นจะโกรธเป็นอย่างมาก เพราะไปกระทบกับพัฒนาการของวัยรุ่นที่สำคัญมากคือความเป็นส่วนตัว (Privacy) เห็นรึยังครับว่าถ้าคุณพ่อคุณแม่มีความรู้ความเข้าใจพัฒนาการของลูกจะช่วยให้เราปฏิบัติต่อเขาได้เหมาะสมอย่างไร
  4. คุณพ่อคุณแม่ควรมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูลูกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่นบางครอบครัว พ่อแม่ต้องทำงานทั้งคู่จึงจำเป็นต้องจ้างพี่เลี้ยงดูแลช่วงกลางวัน แต่คุณพ่อคุณแม่บางคนเลิกงานกลับมา บ้านแล้ว เหนี่อย กลางคืนก็ ฝากพี่เลี้ยงดูแลอีก
    ควรอยู่ใกล้ชิดลูกมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างน้อยช่วงกลางคืนจะได้มีประสบการณ์ได้รับรู้ความรู้สึกของการตื่นมาให้นมลูกเวลาลูกร้องกลางคืน ได้โอบกอดและปลอบให้เขาหลับต่อ เมื่อได้รู้จักจะยิ่งรักและเข้าใจในตัวลูก
  5. สร้างเสริมความภาคภูมิใจในตัวเองหรือความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า (self esteem) ให้ลูก นั่นหมายถึงเมื่อลูกทำดีหรือประสบความสำเร็จ คุณพ่อคุณแม่ต้องชม เมื่อเขาท้อแท้ก็ให้กำลังใจ บางคนบอกว่าชมมากเดี๋ยวเหลิง ไม่ต้องกลัวครับ การชมอย่างถูกต้อง สมเหตสมุผลไม่มีผลเสียแน่นอน จะช่วยให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตัวเองซึ่งมีค่าต่อเด็กมาก
  6. ให้อิสระและโอกาสในการตัดสินใจกับลูก จะช่วยให้ลูกมีความคิดสร้างสรร กล้าคิดกล้าทำ ไม่พยายามบังคับความคิดลูก (ถ้าเรื่องนั้นไม่ใช่เรื่องของกฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย)
  7. สอนลูกให้รู้จักรักและดูแลตนเองเช่นเดียวกันกับผู้อื่น ซึ่งข้อนี้ก็คือส่วนสำคัญข้อหนึ่งของ E.Q.ดังที่ได้คุยกันไปแล้ว ซึ่งรวมไปถึงการสอนลูกให้รู้สึกเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ผู้อื่นด้วย เช่นการที่คุณพ่อคุณแม่บางคนพาลูกไปให้ของเด็กพิการ ตามสถานสงเคราะห์หรือให้ผู้สูงอายุที่บ้านพักคนชรา
  8. ส่งเสริมให้ลูกรู้จักคิดด้วยหลักการและเหตุผล โดยส่งเสริมทั้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและเรื่องสำคัญๆ ด้วย ตัวอย่างถ้าลูกอยากจะซื้อของเล่น ของใช้ที่แพงๆ หรือเป็นของที่มีอยู่แล้วก็สอนให้ลูกรู้จักใช้หลักการและ้เหตุผลว่าควรซื้อหรือไม่ควรซื้อ เพราะอะไร
  9. สอนลูกให้รู้จักการผ่อนคลายและหาความสุขให้ตัวเองด้วย ข้อนี้ก็มีความสำคัญมากเพราะเด็กหลายคนที่เก่ง ประสบความสำเร็จในการเรียน กีฬา แต่ไม่มีความสุข เนื่องจากเครียดอยู่ตลอดเวลาในการที่จะรักษาความเก่งของตัวเองไว้ให้ได้ตลอดไปหรือให้เก่งมากขึ้นเพื่อเอาชนะคนอื่น
  10. เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก (modeling) คุณพ่อคุณแม่เป็นตัวอย่างให้ลูกทำสิ่งดีๆตามลูกจะเรียนรู้โดยอัตโนมัติแทบไม่ต้องพูดสอนเลย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือนิสัยรักการอ่าน ส่วนหนึ่งเกิดจากพ่อแม่เป็นแบบอย่าง เช่นอยู่บ้านว่างๆก็หยิบหนังสือมาอ่าน ชอบที่จะอ่านนิทานให้ลูกฟัง พูดคุยกับลูกถึงเรื่องในหนังสือที่อ่าน ไปเที่ยวห้างสรรพสินค้าก็มักแวะเข้าร้านหนังสือบ่อยๆ แบบนี้ลูกก็มักจะติดนิสัยรักการอ่านหนังสือไปโดยไม่รู้ตัว ผมมีอีกตัวอย่างหนึ่งคือการฝึกให้ลูกรู้จักช่วยเหลือตัวเองและรับผิดชอบเช่นหลังกินข้าวเสร็จ ถึงแม้ว่าจะมีคนงานที่บ้านก็ควรจะยกจานที่ทานเสร็จแล้ว ช่วยเขี่ยเศษอาหารใส่ถังขยะแล้ววางบนอ่างล้างจานในบ้าน(ให้คนงานล้างต่อไป) คุณพ่อคุณแม่ควรทำเป็นตัวอย่าง ลูกเห็นก็อยากทำตาม แล้วยังสอนการมีน้ำใจต่อคนงานอีกด้วย ท่านผู้อ่านลองนึกภาพนะครับว่าถ้าพ่อแม่ไม่ทำเป็นตัวอย่าง กินตรงไหนเสร็จแล้วก็ลุกออกไป ให้คนงานมาตามคอยเก็บ แต่สั่งให้ลูกทำลูกจะคิดอย่างไร
  11. กฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย พบว่าเด็กที่ E.Q. ดี มักอยู่ในครอบครัวที่พ่อแม่ให้ความรักความเข้าใจ ในขณะเดียวกันก็สอนรู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร และควบคุมเรื่องของกฎเกณฑ์ระเบียบวินัยในลักษณะของทางสายกลางตามหลักพระพุทธศาสนา ไม่ควบคุมมากเกินไปหรือน้อยเกินไป เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญและมีรายละเอียดมากครับ เราคงจะได้คุยกันในครั้งต่อๆ ไป หัวข้อนี้รวมไปถึงการฝึกให้ลูกรู้จักรับผิดชอบ และช่วยเหลือตัวเองตามวัย ซึ่งหัวข้อนี้เราเคยพูดคุยกันไปแล้ว

    นอกจาก 11 วิธีนี้แล้ว ท่านผู้อ่านทราบไหมคะ มีอีกสิ่งหนึ่งซึ่งสำคัญมากต่อ E.Q. ของลูก มีอิทธิพลต่อเด็กมาก แต่เรามักไม่ค่อยนึกถึง ทราบไหมคะ
    ว่าคืออะไร ระบบการศึกษาไงคะ
     
  12. ระบบการศึกษา เราคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่าการศึกษาสร้างคน เห็นด้วยใช่ไหมครับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากและมีผลต่อ E.Q.ของลูกด้วย จะมีประโยชน์มากครับหากเราจะทำความเข้าใจกับระบบการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก คงจะมีโอกาสได้พูดคุยเรื่องนี้กันต่อไป