วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

วันนี้แม่สายป่านมี 10 วิธีที่สามารถช่วยปรับพฤติกรรมเด็ก



วันนี้แม่สายป่านมีบทความมาแชร์เรื่องการปรับพฤติกรรมของเด็ก แต่ก่อนอื่นขอเล่าประสบการณ์์ที่แม่สายป่านเจอกับน้องออมใจมาเล่าใหัฟังก่อนนะคะ ก่อนที่จะมาแชร์วิธีปรับพฤติกรรมของเด็ก เมื่อสมัยที่น้องออมใจอยู่ในวัยที่เริ่มคลานได้ น้องออมใจเป็นเด็กที่มีความเป็นตัวเองสูงมาก และดื้อมาก เมื่อไม่พอใจน้องออมจะมีอาการอ๊วกทันที หรือเมื่อไม่อยากกินนมน้องออมใจเลือกที่อ๊วกออกมาได้ทันทีทันใด แต่วิธีที่ป่านจัดการกับน้องออมใจคือทุกครั้งก่อนที่จะลงโทษใดๆก็ตามเราจะพูดเหตุผลให้เค้าฟังก่อนเสมอ หากพูดเกิน 2 ครั้งแล้ว ยังมีพฤติกรรมเดิมเราจะมีการลงโทษทันที โดยจับน้องออมใจอยู่ในห้องเพียงลำพัง 1 นาที ซึ่งต้องเป็นห้องที่ปลอดภัย ที่แม่หลายๆคน เข้าใจว่าพฤติกรรมแบบนี้ โหดเกินไป เนื่องจากน้องยังเล็กอยู่ แต่เชื่อเถอะคะ ตั้งแต่แรกเกิด เด็กทุกคนจะสามารถรู้เรื่องได้ทุกอย่างแล้ว เค้ารู้วิธีที่จะจัดการกับพ่อแม่ ทำอย่างไร พ่อแม่ถึงจะยอมหรือปฏิบัติตามสิ่งที่เค้าต้องการ ดังนั้นมันจึงไม่เร็วเกินไปสำหรับเด็กเพื่อที่จะปรับพฤติกรรมเด็กตั้งแต่ยังแบเบาะ ก่อนที่จะสายเกินไป และวิธีนี้ก็ได้ผลจริงๆคะ แต่ต้องแจ้งไว้ก่อนว่าการที่จะทำวิธีแบบนี้ คนรอบข้างจะต้องปฏิบัติตามและมีทิษทางในทางเดียวกัน เพราะเด็กสามารถรับรู้ได้ถึงความรู้สึกของบุคคลอื่นในบ้านที่คอยตามใจเค้า ดังนั้นวิธีนี้จึงต้องปฏบัติกันทั้งบ้าน

วันนี้แม่สายป่านมี 10 วิธีที่สามารถช่วยปรับพฤติกรรมเด็ก

1. พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูควรที่จะปรับสิ่งแวดล้อม ภายในบ้านให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น รวมถึง คุณพ่อคุณแม่จะได้ไม่ต้องเหนื่อยในการห้ามปราบ หรือพูดสั่งลูกตัวเองบ่อยๆว่า "ไม่นะ อย่าทำแบบนั้นนะลูก" "หยุดเดี๋ยวนี้นะ" "อย่านะมันอันตราย" เพื่อป้องกันการเกิดอารมภ์เสียต่อกัน เนื่องจากเด็กวัยนี้ชอบปีนป่ายสำรวจสิ่งของต่างๆ

2. คุณพ่อคุณแม่ควร ชี้แนะโดยการบอกและสอนอย่างใจเย็น ว่าเหตุใดสิ่งนี้ถึงทำได้ หรือทำไม่ได้ และช่วยหาทางออกให้เด็กรู้ด้วยว่าควรทำอย่างไรแทน อาทิเช่น หาลูกคุณกำลังเอาปากกามาขีดเขียนหนังสือ ให้ควรรีบเอาหนังสือออกพร้อมกับบอกลูกคุณว่า "ตรงนี้เขียนไม่ได้นะลูก เดี๋ยวมันเสีย" พร้อมทั้งหากระดาษหรือสมุดวาดเขียนให้เค้าวาดรูปแทนทันที

3. คุณพ่อคุณแม่ควรจัดกิจวัตรประจำวัดให้สม่ำเสมอ เพื่อสร้างวินัยที่ดีให้กับลูกน้อง จัดตารางการกิน การนอนให้เป็นเวลา เพื่อให้เด็กปรับตัวง่ายขึ้น รวมถึงร่วมมือมากขึ้นในการทำกิจวัตรต่างๆ

4. วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจ เป็นวิธีที่ได้ผลที่ดีที่สุดกับเด็กเล็ก เพราะเด็กยังไม่มีความสนใจ หรือสมาธิค่อนข้างสั้น จึงสามารถหาวิธีเบี่ยงเบนความสนใจให้เด็กหันไปสนใจอย่างอื่นแทน เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่ต้องกาได้ เช่น หากลูกคุณกำลังกัดกระดาษหรือหนังสืออยู่ เบี่ยงเบนให้ลูกเล่นยางกัดแทน หรืออ่านหนังสือนิทานให้ฟัง

5. วิธีการไม่สนใจและเพิกเฉย ใช้เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ โดยที่พฤติกรรมนั้นต้องไม่เป็นอันตรายต่อตัวเด็กเอง หรือต่อผู้อื่นหรือสิ่งของ เช่นหากลูกกำลังโวยวาย อยู่ที่พื้นเพราะอยากได้ของ หรือไม่ได้ดั่งใจตามที่เค้าต้องการ ก็ควรปล่อยให้ลูกร้องไปเรื่อยๆและทำเป็นไม่สนใจ แต่อยู่ในสายตาของเราว่าลูกปลอดภัยดี สักพักเมื่อเด็กรับรู้ได้ว่าวิธีนี้พ่อแม่ไม่สนใจเค้า ลูกก็จะหยุดร้องไห้ไม่เอง เมื่อลูกหยุดร้องไห้แล้วถึงจะเข้าไปหา แล้วอธิบายเหตุผล แต่ห้ามเข้าไปโอ๋หรือต่อรองกับเด็ก

ุ6. การให้ได้รับผลตามธรรมชาติและการให้รับผิดชอบผลของการกระทำ จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองต่อไป ตัวอย่างเข่น หากลูกไม่ยอมกินนม ให้เด็กรู้สึกถึงความหิว เด็กจะยอมกินอาหารมื้อต่อไป

7. การเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเด็ก เด็กวัยนี้ชอบเลียนแบบพฤติกรรมผู้ใหญ่ การที่คนในบ้านแสดงพฤติกรรมที่ดีและสม่ำเสมอ แม้ว่าเด็กจะไม่เข้าใจเหตุผลของการกระทำทั้งหมด แต่เด็กจะค่อยๆเรียนรู้ และซึมซับว่าการที่ผู้ใหญ่ทำพฤติกรรมดังกล่าวนั้น ตัวอย่างเช่น ผู้ใหญ่เล่นกับสุนัขที่บ้านอย่างนุ่มนวล พูดคุยด้วยภาษาสุภาพและมีเหตุผล

8. การแยกให้อยู่ตามลำพังชั่วคราว หรือที่เรียกว่า Time Out เมื่อเด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ให้เด็กแยกออกมาอยู่ตามลำพังเพื่อสงบอารมภ์โดยมีวิธีการดังนี้
       - เตือนล่วงหน้าว่าจะให้เด็กทำอะไร เช่น หยุดรื้อของเดี๋ยวนี้แล้วไปนั่งที่เก้าอี้ตรงนั้น
       - หากเด็กไม่ยอมไปนั่งให้จูงมือและอุ้มเด็กไปนั่นเก้าอี้หรือจุดสงบที่เตรียมเอาไว้
       - กำหนดเวลาให้เด็กรู้ว่าต้องสงบนานเท่าไหร่ โดยมีข้อจำกัดว่าว่า ทุกๆ 1 ปี จะมีระยะเวลา Time Out 1 นาที เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่เข้าใจเรื่อเวลา ควรหานาฬิกาใหญ่ๆมาตั้งใกล้ๆ และชี้ให้เด็กดูว่าต้องนั่งนานเท่าใด
       - ระหว่างให้เด็กสงบ ไม่ควรให้ความสนใจหรือพูดตอบโต้กับเด็ก ไม่ควรให้เด็กนั่งอยู่บริเวณที่มีของเล่น โททัศน์ และไม่ควรขังในห้องน้ำ และห้องมืด
       - เมื่อหมดเวลาแล้ว ควรให้ความสนใจกับเด็ก พูดคุยกับปัญหาที่เกิดขึ้นและสอนด้วยเหตุผล และไม่ควรใส่อารมภ์หรือพูดยั่วยุให้โมโหต่อ

9. การสร้างแรงเสริมในทางบวกคือการชมเชยผ่านทางคำพูดหรือการแสดงออกผ่านทางสีหน้าท่าทางเช่นการโอบกอด ลูบศรีษะ การชมเด็กควรทำด้วยความจริงใจและเจาะจงกับพฤติกรรมที่เด็กทำ

10. การลงโทษ โดยทั่วไปไม่ควรลงโทษเป็นวิธีแรกหรือบ่อยๆเพราะจำทำให้เด็กไม่เข้าใจ ควรมีเหตุผลทุกครั้งที่ลงโทษ

การปรับพฤติกรรมเด็กให้ได้ผล ต้องเข้าใจพัฒนาการตามวัยของเด็กแล้วผู้เลี้ยงดูควรให้ความรัก ปฏิบัติต่อเด็กอย่างสม่ำเสมอ รู้วิธีการสื่อสารกับเด็กอย่างจริงจัง และต้องอาศัยการร่วมมือของทุกคนในบ้านแก้ปัญหาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

วันนี้ป่านมีสูตรสู่ความเป็นพ่อแม่ที่ดีด้วย 9 วิธีปฏิบัติ




หลังจากห่างหายไปหลายวัน แม่สายป่านวันนี้ก็มีเรื่องดีๆมาแชร์ให้สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ ดังที่คำสอนที่เราเคยได้ยินกันมาตลอดก็คือ พ่อและแม่คือครูที่ดีที่สุดของลูก และแน่นอนคะ การที่เราต้องการให้ลูกเป็นเด็กดีและมีความประพฤติที่ดีนั้น ทุกอย่างต้องเริ่ม ต้นจากที่บ้านก่อนทั้งสิ้น เพราะพ่อแม่คือแบบอย่างที่ลูกเลือกจะเลียนแบบได้ไวที่สุด ทุกอย่างเราต้องปลูกฝังตั้งแต่แรกเกิด ไม่ว่าจะเป็นกิริยามารยาท ความเป็นระเบียบวินัย การประพฤติปฏิบัติตัวในสังคม ช่วงวัยแรกเกิดถึง 3 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะซึมซัมได้เร็วที่สุด ดังนั้นวันนี้ป่านมีสูตรสู่ความเป็นพ่อแม่ที่ดีด้วย 9 วิธีปฏิบัติ

1. แสดงให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่รักเขามากแค่ไหน
“ความรักชนะทุกสิ่ง” ไม่มีอะไรที่ยิ่งใหญ่และสำคัญมากไปกว่าความรัก พ่อแม่ทุกคนรักลูก แต่บางคนไม่กล้าแสดงออกเพราะรู้สึกเขินอายที่จะแสดงให้ลูกรู้ เพราะกลัวเสียการปกครองบ้างล่ะ กลัวลูกไม่เคารพบ้างล่ะ หรือกลัวลูกไม่เกรงใจบ้างล่ะ ซึ่งความคิดเหล่านี้จะสร้างกำแพงระหว่างพ่อแม่กับลูก เพราะไม่ว่าลูกจะเล็ก หรือจะโตแค่ไหนเขาจะไม่มีทางเข้าใจห ากพ่อแม่ไม่แสดงความรักออกมาเป็นการกระทำ หรือถึงรู้ว่าพ่อแม่รักและหวังดีแต่ก็จะไม่มีความสนิทใจที่อยากจะใกล้ชิด ด้วย

การแสดงความรักทำได้มากมายหลายวิธี พ่อแม่บางคนใช้การสัมผัสทางกาย เช่น กอด หอม บางคนใช้การแสดงออกทางคำพูด เช่น พูดให้กำลังใจ พูดด้วยถ้อยคำอ่อนหวานไพเราะ ส่วนบางคนใช้การแสดงออกทางสายตา เช่น มองลูกด้วยสายตาที่อ่อนโยน แต่ทั้งนี้ไม่ว่าพ่อแม่จะแสดงความรักต่อลูกด้วยวิธีไหนก็ตาม ให้คิดคำนึงเสมอว่า ความรักของพ่อแม่นั้นต้องเป็นความรักที่ไม่มีเงื่อนไข คือรักที่เขาเป็นลูกเรา ไม่ใช่รักที่ลูกเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ลูกเรียนเก่งถึงรัก เป็นลูกชายถึงรัก แต่ไม่ว่าลูกจะเป็นอย่างไร จะพิการ จะโง่เขลา ไม่สวยหล่อสมใจเรา พ่อแม่ก็ต้องรักเขาเพราะเขาคือลูกที่เกิดมาจากเรา

2. เป็นแบบอย่างที่ดี
หากอยากให้ลูกดีอย่างไร พ่อแม่ก็ต้องดีให้ได้อย่างนั้น การเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกต้องดีให้ได้ทั้งความคิดและการกระทำ พ่อแม่บางคนคิดดีแต่ทำไม่ดี เช่น คิดว่าควันบุหรี่ทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นแต่ก็ยังสูบบุหรี่ หรือทำดีแต่คิดไม่ดี เช่น พูดจายกย่องเชิดชูคนอื่นแต่ทำเพราะคิดอยากให้ตนได้ดีในหน้าที่การงาน แบบนี้ก็สอนลูกไม่ได้เพราะเป็นการหน้าไหว้หลังหลอก ดังนั้น การเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกดีตาม ต้องทั้งคิดดีและทั้งทำดีควบคู่กันไป และสอนให้ลูกรู้ว่าหากเราอยากให้คนอื่นทำดีกับเรา เราก็ต้องทำดีกับเขาก่อนด้วยความจริงใจ เช่นนี้ลูกก็จะถูกหล่อหลอมให้คิดดีทำดีตามพ่อแม่ได้อย่างแน่นอน

3. อย่าหย่อนยานเรื่องกฎ กติกา มารยาท
กฎ กติกา มารยาท เป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินชีวิต การสั่งสอนให้ลูกเคารพในกฎกติกาจะสร้างให้เขาเป็นคนที่มีคุณภาพ กฎ กติกา มารยาทที่ให้ลูกดำเนินตามนั้น ควรเกิดจากการคิดและตกลงใจร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูก เพราะตามธรรมชาติของมนุษย์กฎมีไว้ให้แหกเสมอ ยิ่งเป็นกฎกติกาที่คนอื่นเป็นคนกำหนดด้วยแล้วยิ่งรู้สึกอยากต่อต้านไม่อยาก ทำตาม ดังนั้นดีที่สุดคือต้องกำหนดกฎกติการ่วมกันตามที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่าดี และควรปฏิบัติ เมื่อตกลงแล้วก็ต้องดูแลให้ลูกดำเนินชีวิตตามกฎอย่างเคร่งครัด อย่าปล่อยให้ลูกแหกกฎ เพราะเมื่อมีครั้งที่หนึ่ง ก็ต้องมีครั้งที่สอง สาม สี่ ตามมา และหากเป็นเช่นนี้ก็ไม่สามารถสอนให้ลูกเป็นคนดีคุณภาพได้ เพราะการรักษากฎระเบียบเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความมีคุณภาพของคน ๆ นั้น เช่น เราตกลงกันว่าเมื่อลูกกลับมาจากโรงเรียนถึงบ้านแล้วต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ เรียบร้อยก่อนจึงจะทำกิจกรรมอย่างอื่นได้ ลูกจะต้องทำการบ้านให้เสร็จก่อนจึงจะดูทีวีได้ ก็ให้เป็นไปตามนั้น

4. มีความทันสมัย
ไม่ได้หมายความว่าพ่อแม่ต้องนุ่งสั้นสายเดี่ยว หรือเจาะหูเจาะจมูกเหมือนวัยรุ่นในยุคสมัยนี้ แต่หมายถึงการมีความคิด และความรู้สึกที่ยอมรับกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละสมัย พ่อแม่บางคนก็ยึดติดกับความคิดของตนเอง และไม่ปรับตัวตามสิ่งแวดล้อม ทำให้บางครั้งไม่สามารถเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกของลูกได้ จึงมักเกิดปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับลูกอยู่เสมอ เพราะลูกก็รู้สึกว่าพ่อแม่ล้าสมัย น่าอาย พ่อแม่ก็รู้สึกว่าลูกเป็นพวกบ้าบอไร้สติ ดังนั้น สำหรับพ่อแม่แล้วการเปิดใจยอมรับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากเช่นกัน อย่างน้อยก็ได้รู้ว่าสิ่งที่ลูกทำคืออะไร เผื่อมีสิ่งใดเกิดขึ้นไม่ว่าจะในทางดีหรือไม่ดีจะได้เข้าใจและรับมือกับสิ่ง นั้นได้

5.เป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการได้เสมอ
พ่อแม่ที่มีลูกเป็นวัยรุ่นมักกลุ้มใจที่ลูกไม่ค่อยเห็นถึงความสำคัญ โดยธรรมชาติแล้วลูกที่เป็นวัยรุ่นมักนึกถึง และพึ่งพาคนนอกครอบครัวเป็นหลักโดยเฉพาะเพื่อนหรือคนวัยใกล้เคียงกัน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องทำให้ลูกเห็นถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว และอยากพึ่งเรา โดยพ่อแม่ควรหมั่นพูดคุย สอบถามถึงความเป็นไปในชีวิตของลูก และให้ความเชื่อมั่นแก่ลูกว่า ไม่ว่าลูกจะกินไม่ได้นอนไม่หลับ คิดไม่ออกบอกใครไม่ได้ ต้องการสิ่งไหนอย่างไร ให้ลูกรู้ว่า ยังมีพ่อแม่ที่คอยอยู่เคียงข้าง คอยให้ความช่วยเหลือและพร้อมสนับสนุนเขาเสมอ ก็จะทำให้ลูกรู้สึกอุ่นใจและกล้าที่จะเข้าหาพ่อแม่มากขึ้น

6. รู้จักจัดสรรเวลาให้เหมาะสม
พ่อแม่หลายคนมีปัญหาเรื่องการจัดสรรเวลาอย่างมาก เพราะรู้สึกว่าแค่หน้าที่การงานที่ต้องทำอยู่ทุก ๆ วัน ก็แทบจะไม่มีเวลาหายใจหายคอแล้วจะไปมีเวลาทำอย่างอื่นอะไรได้อีก แต่อย่าลืมว่าหน้าที่หลักของเราคือการเป็นพ่อเป็นแม่ ดังนั้นเมื่อเราให้เวลาแก่สิ่งอื่นได้เราก็ต้องให้เวลากับลูกได้เช่นกัน เพราะความสุขของพ่อแม่คือการได้เห็นลูกเติบโตไปทุก ๆ วัน ดังนั้นพ่อแม่ต้องแบ่งเวลาให้เหมาะสม เช่น กำหนดเลยว่าวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ทำงาน วันหยุดเสาร์ และหรืออาทิตย์เป็นวันของครอบครัวที่จะมีกิจกรรมดี ๆ ด้วยกัน ไปปิกนิกที่สวนสาธารณะ ไปออกกำลังกายเล่นกีฬา เข้าครัวปรุงอาหารด้วยกัน ไปดูหนังหรือกินข้าวนอกบ้านกัน

7. พร้อมเผชิญปัญหาของลูกด้วยความเต็มใจ
โลกของเด็ก ๆ ปัญหาแบบเด็ก ๆ บางครั้งพ่อแม่ก็ไม่เข้าใจ บางคนงงด้วยซ้ำว่าเด็กจะมีปัญหาอะไรกันนักกันหนาจึงมักไม่สนใจปัญหาของ ลูกคิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระ แต่นี่แหละที่จะทำให้เป็นปัญหาเกิดขึ้นจริง ๆ ตามมาเพราะลูกจะรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่เข้าใจและไม่สนใจก็จะหันไปเลือกการแก้ ปัญหาด้วยวิธีที่ผิด ดังนั้นสำหรับพ่อแม่แล้วเมื่อลูกมีปัญหาควรทำเช่นนี้

1) รู้เท่าทันปัญหาของลูก ปัญหาของลูกเล็กกับปัญหาของลูกวัยรุ่นก็ไม่เหมือนกัน ลูกเล็กมักมีปัญหาเช่น เรื่องเพื่อนไม่เล่นด้วย ไม่แบ่งขนมให้กิน ส่วนลูกวัยรุ่นมักมีปัญหาเรื่องการเรียน เรื่องเพื่อน เรื่องความรัก การที่พ่อแม่เตรียมใจรู้เท่าทันถึงปัญหาตามวัยของลูก จะสามารถเตรียมตัวรับมือกับปัญหาได้ง่ายขึ้น

2) รับฟังปัญหาอย่างใจกว้าง แม้ไม่เข้าใจปัญหาของลูกแต่ก็ควรรับฟังอย่างตั้งใจ และแม้ช่วยแก้ปัญหาไม่ได้ แต่สามารถทำให้ลูกรู้สึกดีขึ้นได้ ดังนั้น เมื่อลูกเล่าปัญหาให้ฟังก็ควรเป็นผู้ฟังที่ดี สบตากับลูกด้วยแววตาที่อ่อนโยน มีท่าทีตอบสนองเป็นระยะ เช่น โอบไหล่ ลูบหัว บีบมือลูกเบา ๆ หรือพยักหน้าเข้าใจ

3) พร้อมแก้ปัญหาไปด้วยกัน ปัญหาบางอย่างอาจยากที่จะแก้ไข แต่สิ่งสำคัญคือการที่พ่อแม่ลูกได้พูดคุย และช่วยกันหาหนทางในการแก้ปัญหา แต่หากไม่ใช่ปัญหาที่ร้ายแรงใหญ่โตและลูกสบายใจที่จะให้ปัญหาผ่านพ้นไป พ่อแม่ก็ควรเคารพการตัดสินใจของลูกด้วย

8. ให้ลูกมีเวลาส่วนตัวบ้าง
อย่าควบคุมลูกแม้กระทั่งความเป็นส่วนตัวของเขา พ่อแม่บางคนคอยจับจ้องลูกตลอด ไม่ว่าจะเดินไปไหน จะกินอะไร จะพูดกับใคร ไม่เคยคลาดสายตา พ่อแม่บางคนทำเพราะไม่ไว้ใจ พ่อแม่บางคนทำเพราะรักลูกเกินขนาดอยากเห็นทุกอย่างที่ลูกทำ แต่ไม่ว่าเพราะเหตุผลอะไร มันคือการสร้างความอึดอัดให้กับลูกอย่างมากมายเลยทีเดียว ดังนั้น พ่อแม่ต้องให้อิสระแก่ลูกบ้าง เพราะไม่ว่าใครก็ต้องการเวลาส่วนตัวที่จะได้คิด ได้ทำอะไรในอย่างที่ตนพอใจบ้าง โดยอาจกำหนดเวลาบางช่วงของวันที่ลูกจะทำอะไรก็ได้เป็นการส่วนตัว เช่น เล่นเกม คุยโทรศัพท์ ออกไปเที่ยวกับเพื่อน พ่อแม่เพียงแต่คอยดูแลเขาห่างๆให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมก็พอแล้ว

9. ฝึกลูกในทางที่เขาควรจะเป็น
1) การฝึกความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อผู้อื่น มีหน้าที่เรียนก็ตั้งใจเรียนให้ดีที่สุด มีหน้าที่ทำงานบ้านก็ทำให้เรียบร้อยที่สุด
2) ฝึกให้มีความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณ ประเทศชาติและพระมหากษัตริย์
3) ฝึกให้รู้จักรักษาความดีดุจเกลือรักษาความเค็ม
4) ฝึกให้เป็นคนรู้จักการให้และการเสียสละ
5) ฝึกให้ไม่ลืมความเป็นไทย

วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

เคล็ดลับเด็ดๆที่ทำให้ลูกรักการอ่าน ตั้งแต่ในวัยเด็ก โดยแม่สายป่าน


การสอนให้เด็กรักการอ่านในปัจจุบัน ถือว่าเป็นอะไรที่ยากจริงๆ เนื่องจากปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่หลายหลาย ไม่่ว่าจะ IPAD หรือ IPHONE ก็ตามแต่ แต่ยังไงเราก็ต้องสอนให้ลูกเรารู้จักรักการอ่านหนังสือ โดยปกติแล้ว แม่สายป่านจะอ่านหนังสือให้ฟังทุกคืนก่อนนอนตั้งแต่น้องออมใจยังเด็กๆ ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้ก่อนเข้านอนน้องออมใจจะหยิบหนังสือมาให้คุณแม่อ่านให้ฟัง วันก่อน แม่สายป่านแค่สอนว่า What Does the Lion Sound ? แล้วทำเสียงคำรามให้น้องออมใจฟัง ทุกวันนี้เวลาเห็นรูปสัตว์ก็จะทำเสียงคำรามเหมือนเสือ เค้าเลยบอกว่าช่วงเด็กเป็นช่วงที่เด็กกำลังใจ และเลียนแบบพฤติกรรม ดังนั้นเราควรปลูกฝังลูกน้อยของเราตั้งแต่เด็กๆ วันนี้ป่านมีวิธี สอนให้ลูกรักการอ่านมาแชร์ให้ฟังกันคะ


9 วิธี ที่ทำให้เด็กรักการอ่าน

1.ได้เล่นสนุก

     เด็กกับการเล่นเป็นของคู่กัน หนังสือวัยนี้จึงต้องเป็นของเล่นด้วย เช่น หนังสือลอยน้ำที่ดึงความสนใจลูกได้ดี ไม่เพียงทำให้อาบน้ำง่ายขึ้น แต่ยังสร้างความรู้สึกคุ้นเคยหนังสือให้ลูกรักการอ่านได้ด้วย


2.น้ำเสียงเร้าใจ

     เสียงพ่อแม่ที่อ่านระดับสูง ๆ ต่ำ ๆ มีจังหวะไม่ช้าไป ไม่เร็วไป ออกเสียงดังฟังชัด ถึงจะฟังไม่เข้าใจ แต่ลูกก็สนใจมาก แถมลูกยังสนใจหนังสือที่ถูกอ่านโดยพ่อแม่ที่ให้ความสำคัญกับลูก ในที่สุดลูกก็เริ่มสนใจที่จะอ่านหนังสือได้เองในอนาคต


3.ท่าดีไม่มีเบื่อ

     ท่าทางของพ่อแม่ เช่น ทำมือเป็นนกบิน ดึงหูยานเป็นกระต่าย สะบัดมือเป็นใบไม้ยามต้องลม ใช้หุ่นนิ้ว หุ่นมือเล่าเรื่อง สวมที่คาดผมรูปสัตว์ สวมหมวก หน้าสัตว์ ตุ๊กตาประกอบตามท้องเรื่องจะยิ่งเพิ่มความน่าสนใจให้ลูกอยากอ่านได้ดี


4.สีหน้าน่าตื่นเต้น

     ขณะอ่านใบหน้าพ่อแม่ที่อยู่ใกล้ ถือเป็นการสื่อภาษาที่ช่วยให้ลูกจดจำน้ำเสียงและใบหน้าได้อย่างประทับใจ แล้วถ้าได้สบสายตาลูก ได้ทำสีหน้าต่าง ๆ ตามเรื่องที่อ่าน จะยิ่งช่วยให้ลูกรู้จักรับรู้อารมณ์หลากหลาย ทำให้ลูกสนใจการอ่านเช่นกัน


5.หนังสือหลากหลาย

     หาหนังสือวัยเบบี๋ที่หลากหลายให้ลูกได้รู้จักทำความคุ้นเคย จะช่วยให้ลูกสนใจการอ่านได้ เช่น หนังสือผ้า หนังสือป๊อป-อัพ หนังสือลอยน้ำ หนังสือนูนที่เย็บผ้าเป็นรูปภาพที่ลูกรู้จัก หนังสือเล่มหนา หรือ Board Books ซึ่งช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้



6.ต้องเหมาะสม

     เลือกหนังสือให้เหมาะสมกับความสนใจของวัยเบบี๋ มีรูปเล่มที่ดึงดูดความสนใจ มีสีสันสดใส มีเนื้อหาไม่ยาวเกิน เพราะความสนใจของลูกยังอยู่ในช่วงสั้น หากเรื่องยาว แถมคนเล่าไม่ได้สอดแทรกความสนุกไปด้วย ก็จะทำให้ลูกเบื่อได้ค่ะ


7.ภาพสะดุดตา

     มีภาพสื่อให้เข้าใจง่าย ชัดเจน มีสีสันสดใส เป็นภาพเหมือนจริงที่ลูกรู้จัก เช่น สัตว์ ต้นไม้ ดอกไม้ ธรรมชาติรอบตัว เพื่อกระตุ้นให้ลูกสนใจ โดยเฉพาะเมื่อพูดคุยถึงภาพหนังสือ เช่น มีรูปเป็ดด้วย เป็ดร้องว่าไงจ๊ะ ก้าบ ก้าบ ก้าบ ใช่ไหมเอ่ย


8.ทนไม้ทนมือ

     ลูกวัยนี้ชอบนำหนังสือเข้าปากชิมสำรวจรสชาติ หนังสือจึงต้องปลอดภัย เป็นวัสดุ Non-Toxic ปลอดสารพิษ ลูกนำเข้าปากก็ไม่เป็นอันตราย ทำจากวัสดุที่แข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน ไม่มีมุมแหลมคมทำให้ลูกเล่นได้ชิมได้สุขใจด้วย


9.มีเสียงน่าฟัง
     หนังสือเด็กวัยนี้ควรเป็นเสมือนของเล่นมีเสียง เช่น เขย่าแล้วมีเสียง หรือกดปุ่มต่าง ๆ แล้วมีเสียงเป็นเสียงร้องของไก่ เป็ด กบ หรือเสียงธรรมชาติต่าง ๆ เพื่อดึงความสนใจให้ลูกรู้จักฟัง รู้จักแยะแยะเสียงต่าง ๆ ได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลินด้วย

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

ปัญหา “ลูกไม่กินข้าว” + ไฟล์หม่ำอร่อยเล่ม 1 และ 2



แม่สายป่านว่าหลายๆคนคงเคยเจอเรื่องปัญหาว่าทำไมลูกถึงไม่กินข้าว หรือเบื่ออาหาร จนทำให้แม่ๆหลายๆคนรู้สึกกังวลใจเหลือเกิน วันนี้เลยเอาเคล็ดลับมาฝากกัน รวมถึงมีไฟล์เมนูหม่ำอร่อยมาให้คุณแม่ลองโหลดแล้วทำให้ลูกๆทานดูคะ จะได้มีเมนูที่หลากหลาย

ปัญหา “ลูกไม่กินข้าว” เป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กวัย 1-7 ปี เชื่อว่า พ่อแม่ทุกคนจะต้องเคยพบปัญหานี้แน่นอน เพียงแต่ระยะเวลา ความยาวนานของปัญหา และความรุนแรงอาจต่างกันไป
      
       จากการศึกษาของ พญ.วรุณา กลกิจโกวินท์ พบว่า แม่ที่มีลูกวัย 1-3 ปี รายงานว่า ลูกมีปัญหาการกินร้อยละ 35.3 ส่วนวัย 3-5 ปี มีปัญหาร้อยละ 40.6 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในต่างประเทศ ที่พบว่า ปัญหาการกินของเด็กช่วงอายุ 4 ปี มีถึงร้อยละ 42
       ทำไมลูกไม่กินข้าว
      
       สาเหตุ หลักของการที่ลูกไม่กินข้าวนั้น เริ่มต้นจาก “ความวิตกกังวลมากเกินไปของผู้ปกครอง ว่า ลูกอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ” ซึ่งความวิตกกังวลนี้เกิดจาก “ความไม่รู้หรือเข้าใจผิด” เป็นเหตุสำคัญ อันนำมาสู่การแก้ไขที่ผิดๆ ส่งผลให้ปัญหารุนแรงยิ่งขึ้น
      
       ความไม่รู้หรือเข้าใจผิดของผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องกินและน้ำหนักตัวของลูก ได้แก่
       1.เข้าใจผิดว่าเด็กอ้วนเป็นเด็กแข็งแรง พ่อแม่จำนวนมากมีค่านิยมที่ผิด มองว่าเด็กอ้วน (จนเกินเกณฑ์น้ำหนักปกติ) เป็นเด็กแข็งแรง และน่ารัก ทำให้มองเด็กที่น้ำหนักปกติว่าเป็นเด็กผอมเกินไปและพยายามยัดเยียดเรื่องกิน มากขึ้น
       2.เข้าใจผิดว่า ลูกน้ำหนักน้อยเกินไป ทั้งๆ ที่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นในชั้นเดียวกันที่มีน้ำหนักเกิน ซึ่งในปัจจุบันมีเด็กอ้วนในบ้านเราอยู่ถึงร้อยละ 15-20
       3.ไม่รู้ว่าเด็กหลังอายุ 1 ขวบ จะสนใจการกินน้อยลง ธรรมชาติเด็กอายุขวบปีแรกจะกินเก่งเพราะเป็นช่วงที่เติบโตเร็ว เด็กจะมีน้ำหนักเพิ่มถึง 3 เท่าตัว คือ น้ำหนักแรกเกิดประมาณ 3 กิโลกรัม จะเพิ่มเป็น 9 กิโลกรัม เมื่ออายุ 1 ขวบ จึงมีความต้องการสารอาหารมากตามธรรมชาติและหิวบ่อย กินเก่ง แต่เมื่ออายุ 1 ปี จนถึง 10 ปี จะมีน้ำหนักขึ้นเฉลี่ยปีละ 2 กิโลกรัมเท่านั้น ร่างกายต้องการสารอาหารน้อยลงเมื่อเทียบกับปีแรกเด็กจึงมีความกระตือรือร้น เรื่องกินลดลง
       4.ไม่รู้ว่าลูกควรกินอาหารปริมาณเท่าใดในแต่ละวัน ปริมาณอาหารที่พ่อแม่คาดหวังว่าลูกควรจะกินมักจะมากเกินความจริง จากการศึกษาวิจัย พบว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะตักอาหารให้ลูกปริมาณมากกว่าที่ร่างกายของลูกต้องการจริงๆ เมื่อเด็กกินไม่หมด ทำให้พ่อแม่กังวลและพยายามยัดเยียด
       5.ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องปกติที่เด็กอาจกินน้อยเป็นบางมื้อหรือบางวัน เด็กคนเดียวกันความต้องการอาหารแต่ละวันไม่เหมือนกัน บางวันเด็กอาจกินมาก บางวันอาจกินน้อย ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น กิจกรรมที่ใช้พลังงานในวันนั้น สภาพทางอารมณ์จิตใจ แม้แต่สภาพอากาศก็มีผลต่อการเจริญอาหารของเด็กในแต่ละวัน เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่อาจมีบางมื้อที่รู้สึกไม่หิว ไม่อยากกินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเด็กเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่นไข้หวัด ก็อาจทำให้เบื่ออาหารไปชั่วคราวได้
       6.ไม่รู้ว่าความต้องการปริมาณอาหารของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน แม้ว่าจะน้ำหนักเท่ากันแต่เด็กแต่ละคนอาจกินอาหารมากน้อยต่างกันได้มาก ซึ่งขึ้นกับอัตราการใช้พลังงาน การย่อย การดูดซึม อัตราการเผาผลาญของร่างกาย ฯลฯ ของเด็กแต่ละคน

       และเมื่อเกิดความกังวลว่าลูกได้สารอาหารน้อยเกินไป ผู้ปกครองจะพยายามหาวิธีแก้ไข ซึ่งส่วนใหญ่มักใช้วิธีที่ผิด คือ ใช้การดุว่า บังคับ ลงโทษ ใช้การให้รางวัลหรือหลอกล่อให้เพลิดเพลิน หรือใช้กินเพิ่มเติมระหว่างมื้ออาหาร จะเห็นได้ว่า การพยายามแก้ปัญหาโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เด็กมีทัศนคติในแง่ลบต่อการกินและไม่รู้สึกหิวเมื่อถึงมื้ออาหาร จึงเกิดพฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสมขึ้น เช่น ทำท่าทางไม่อยากกิน ปฏิเสธ กินน้อย ต่อรอง กินช้า อมข้าว บ้วนอาหาร กินไปเล่นไป แม้แต่อาเจียน ซึ่งยิ่งทำให้พ่อแม่เครียดและกังวลมากขึ้น เท่ากับเพิ่มปัญหาให้รุนแรงยิ่งขึ้น
       แนวทางแก้ไขและป้องกัน
      
       โดยธรรมชาติแล้ว เด็กไม่ควรมีปัญหากินยาก หรือปฏิเสธการกิน เพราะร่างกายเด็กทุกคนต้องการสารอาหาร เพื่อใช้สร้างพลังงานและเจริญเติบโตในแต่ละวัน โดยร่างกายจะมีกลไกกระตุ้นให้เด็กกระตือรือร้นที่จะกินอาหาร คือ เมื่อร่างกายต้องการอาหารเพิ่มเติม ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดต่ำลง สัญญาณนี้จะกระตุ้นไปยัง “ศูนย์ควบคุมความหิว-อิ่ม” ที่อยู่ในสมอง ซึ่งจะกระตุ้นให้เด็กรู้สึก “หิว” น้ำย่อยหลั่ง ลำไส้บีบ เคลื่อนไหวมากขึ้น ท้องร้อง เกิดความอยากอาหารมากขึ้น เห็นอะไรก็อยากกิน จะสังเกตได้ว่าในขณะที่หิวมากๆ กินอะไรก็รู้สึกอร่อยไปหมด ทั้งยังกินได้มากและเร็วอีกด้วย
      
       นอกจากระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ทัศนคติต่อการกินและอารมณ์ในขณะนั้น ก็มีผลต่อการเจริญอาหารด้วยเช่นกัน เช่น บางครั้งเราอาจยังไม่ค่อยหิวนักแต่เมื่อถึงเวลาอาหาร เรารู้ว่าหากไม่กินอาหารตามเวลา อาจทำให้เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ หรือถ้าปล่อยให้เลยเวลาไปมากจะหิวมากทรมาน ก็ทำให้เรายินดีจะกินเวลานั้น หรือเมื่ออารมณ์ไม่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์โกรธ เศร้า สามารถทำให้ความอยากอาหารหายไปชั่วคราวได้เช่นกัน
       ดูแลลูกน้อยอย่างไรให้กินข้าว
      
       เรามาเรียนรู้การป้องกันและแก้ไขที่ถูกวิธีกันนะครับ
      
       1.หากพ่อแม่เช็คตามกราฟน้ำหนักและส่วนสูง (ซึ่งจะมีในสมุดบันทึกวัคซีนของลูก) แล้วยังอยู่ในช่วงปกติ ให้เตือนตนเองเสมอว่าอาหารที่ลูกได้อยู่ปัจจุบันนี้เพียงพอแล้ว ไม่ว่าจะมีญาติผู้ใหญ่หรือคนอื่นทักก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันมีเด็กอ้วนในสังคมไทยจำนวนมากสูงถึง 15-20% ซึ่งเด็กที่น้ำหนักเกินจะมีส่วนสูงมากกว่าวัยด้วย (แต่ก็จะหยุดสูงเร็วด้วย) ทำให้เด็กในวัยเดียวกันที่น้ำหนัก ส่วนสูงปกติ ถูกเปรียบเทียบแล้วรู้สึกว่าเป็นเด็กผอมหรือตัวเล็กไป
       2.ไม่ใช้วิธีผิดๆ เพื่อให้เด็กกินมากขึ้น เช่น การตี ดุว่า บังคับ ใช้อารมณ์กับลูกหรือการตามใจ ต่อรอง หรือให้รางวัลเกินความจำเป็น
       3.ให้เด็กรู้สึกหิวก่อนถึงมื้ออาหารโดยงดอาหารหรือขนมจุกจิกระหว่าง มื้อ ไม่ว่าจะเป็นขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน ไอศกรีม ลูกอม ฯลฯ หากจะให้ ควรให้หลังอาหาร หากเด็กกินได้เหมาะสม
       4.ไม่ให้นมมากเกินไป เพราะเมื่อเด็กอายุเกิน 1 ปี ควรกินข้าวเป็นอาหารหลัก วันละ 3 มื้อ ส่วนนมจะเป็นอาหารเสริมเท่านั้น จึงต้องลดปริมาณลงเหลือวันละ 3-4 มื้อ และควรให้นมหลังอาหารเท่านั้น เด็กอายุมากกว่า 6 เดือน ร่างกายไม่ต้องการนมหลังจากหลับไปแล้วจนถึงเช้า จึงไม่ควรปลุกเด็กขึ้นมากินนม เพราะเด็กวัยนี้สามารถกินนมก่อนนอนแล้วอยู่ได้ถึงเช้า หากให้กินกลางดึกจะกลายเป็นความเคยชินและทำให้เด็กเบื่ออาหารเช้าเพราะยัง อิ่มนม หลังอายุ 1 ปี ควรเลิกขวดนม ดังนั้นจึงให้เด็กเริ่มฝึกดูดจากหลอดหรือดื่มจากแก้วแทนตั้งแต่อายุ 10 เดือน
       5.ฝึกให้กินอาหารเป็นเวลา สม่ำเสมอ และควรกินพร้อม ๆ กันทั้งครอบครัว เพื่อเป็นแบบอย่างและสร้างบรรยากาศการกินอาหารให้เด็ก
       6.ขณะมื้ออาหารไม่ดูทีวี หรือเล่นของเล่นไปด้วย เพราจะทำให้เด็กไม่สนใจเรื่องกิน ทำให้กินช้า อมข้าวและอิ่มเร็วโดยที่ยังกินได้น้อย
       7.ให้นั่งกินอาหารบนเก้าอี้จนเสร็จจึงจะให้ลง ไม่เดินตามป้อน
       8.ทำบรรยากาศขณะมื้ออาหารให้ผ่อนคลาย พูดคุยกันเรื่องอาหาร หรือเรื่องเบาๆ ไม่ควรใช้เป็นเวลาที่จะมาต่อว่า ดุด่าว่ากล่าวกัน
       9.เปิดโอกาสให้เด็กช่วยเหลือตัวเอง เรื่องการกินให้มากที่สุดตามวัย โดยค่อย ๆ ลดการให้ความช่วยเหลือลงตามลำดับ ในเด็กต่ำกว่า 3 ขวบ ให้เด็กมีโอกาสถือหรือหยิบอาหารเข้าปากด้วยตัวเองบ้าง แม้จะเลอะเทอะไปบ้างก็ต้องยอม เด็กวัย 4 ขวบ ส่วนใหญ่สามารถตักอาหารเข้าปากได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องป้อน เพียงแต่ให้ความช่วยเหลือบางส่วน
       10.สังเกตชนิดและลักษณะอาหารที่เด็กชอบ ปรุงรสชาติให้ถูกปากเพราะเด็กสามารถแยกแยะรสชาติได้ตั้งแต่อายุไม่กี่สัปดาห์
       11.กำหนดระยะเวลามื้ออาหารประมาณ 30-45 นาที เมื่อถึงเวลาที่กำหนดให้เก็บจาน แม้ว่าจะยังกินไม่หมดหรือกินได้น้อยก็ตาม โดยไม่ต้องแสดงความวิตกกังวลหรือโกรธ แต่ให้งดของหวาน ขนม หรืออาหารว่างต่างๆ ทั้งหมดก่อนจะถึงมื้อถัดไปเพื่อให้เด็กเกิดความหิว ซึ่งจะกระตุ้นให้เจริญอาหารและรับผิดชอบเรื่องการกินว่าเป็นเรื่องส่วนบุคคล ได้ดีขึ้น
      
       โดยธรรมชาติแล้วปัญหาเด็กกินยาก ไม่กินข้าว ไม่ควรจะมี ยกเว้นแต่จะมีความพิการ หรือเจ็บป่วยซ่อนเร้นอยู่ ดังจะเห็นว่าเด็กที่อยู่ในสังคมที่อดอยากยากแค้นจะไม่ค่อยพบปัญหาเหล่านี้ เด็กจะแย่งกันกิน ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาที่พบบ่อยในสังคมที่มีพอกิน หรือเหลือกินอย่างสังคมคนชั้นกลางในปัจจุบัน ซึ่งพ่อแม่มีลูกน้อย และให้ความสำคัญกับเรื่องร่างกาย ความสมบูรณ์มาก เด็กๆ ไม่รู้จักคำว่าหิว ไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องกินให้เสียเวลาเล่น ดูทีวี แต่หากผู้ปกครองมีความเข้าใจธรรมชาติการกินของเด็ก มีค่านิยมที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องรูปร่างน้ำหนักตัว ลดความวิตกกังวลของตนเองได้ อีกทั้งฝึกฝนสุขลักษณะการกินที่ดีตั้งแต่เล็กก็จะแก้ไขและป้องกันปัญหานี้ ได้

กดคลิ๊กโหลดไฟล์ตรงนี้เลยคะ หม่ำอร่อย 1

กดคลิ๊กโหลดไฟล์ตรงนี้เลยคะ หม่ำอร่อย 2

 แม่สายป่านเชื่อว่าหลายคนคงเจอเหตุการณ์แบบนี้บ่อยๆคือ เวลาลูกไม่ได้ของที่ต้องการหรือสิ่งที่ต้องการ ลูกจะร้องไห้ โวยวาย หรือดิ้นพล่านอยู่กับพื้น วันนนี้ป่านมีวิธีรับมือไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

วิธีรับมือไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเองเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ขวบ ลูกของเราจะเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก ซึ่งเด็กในช่วงปฐมวัยนี้ยังไม่สามารถใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา แต่ลูกจะคอยสังเกตการตอบสนองจากคนรอบข้างทั้งพ่อแม่ และผู้ดูแล หากพ่อแม่ที่ไม่รู้มาก่อนว่าลูกของตนนั้นกำลัง “ลองดี” กับตัวเองแล้วละก็ ลูกก็จะเรียนรู้ว่า “ถ้าทำอย่างนี้แล้วพ่อแม่จะยอม” ซึ่งเมื่อเด็กเรียนรู้ไปมากๆ เข้า ก็จะพัฒนากลายเป็นนิสัย และเริ่มรู้ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ใหญ่ยอมทำในสิ่งที่เขาต้องการนั้นเอง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้วพ่อแม่คงต้องเหนื่อยอีกเยอะเลยค่ะ วันนี้เรามีวิธีเตรียมรับมือไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเองและรับฟังเหตุผลพ่อแม่

คุณพ่อคุณแม่เคยเจอลูกมีอาการเหล่านี้บ้างหรือเปล่า

    เวลาที่ลูกต้องการจะให้พ่อแม่ทำอะไรให้ เช่น กินขนม ซื้อของเล่น พาไปเที่ยว เมื่อไม่ได้ดั่งใจ ลูกก็จะร้องไห้งอแง หนักๆ เข้ามีอาการดิ้นลงไปกับพื้น ชักดิ้นชักงอ สุดท้ายพ่อแม่ก็ต้องยอมทำตามที่ลูกต้องการ
    เวลาที่ไปขัดใจลูก เช่น ให้หยุดเล่นเพื่อไปทำกิจกรรมอื่น ลูกก็จะร้องไห้งอแง
    เวลาที่พ่อแม่สอนหรือบอกลูกให้ทำอะไร ลูกมักจะต่อต้านหรือไม่ยอมทำตาม

สาเหตุที่ลูกมีอาการเหล่านั้นเพราะ

    นับตั้งแต่ลูกเกิดออกมา ลูกของเราก็จะมีการเรียนรู้ เช่น เมื่อตัวเองรู้สึกหิว เมื่อร้องไห้แล้วมีน้ำนมให้กิน เด็กก็จะเรียนรู้ว่า อ้อ.. ถ้าหิวให้ร้องไห้นะ เดี๋ยวจะมีน้ำนมมาให้กินอิ่มอร่อย
    เมื่อลูกเรียนรู้ว่าทำแบบไหนแล้วได้ผล แต่เมื่อทำซ้ำแล้วยังไม่ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ ลูกก็จะเพิ่มความรุนแรงของการกระทำขึ้นไปอีก เช่น ครั้งแรกพ่อแม่พาไปเที่ยวแล้วซื้อของเล่นหรือขนมให้ลูกกิน เมื่อพาลูกออกไปอีก ลูกก็จะให้เราซื้อขนมหรือของเล่นเพิ่มให้ เมื่อไม่ได้ลูกก็จะร้องไห้ หากการร้องไห้ครั้งนี้ทำให้พ่อแม่ใจอ่อนจนทำตามสิ่งที่ลูกต้องการ ลูกก็จะเรียนรู้และเข้าใจไปเองว่า “ทำแบบนี้แล้วพ่อแม่จะยอม”

        เมื่อวันต่อๆ ไปอยากจะได้อะไร ลูกก็จะนำกลับไปใช้มุขเดิม คือ ร้องไห้งอแง ถ้าไม่ได้ ลูกก็จะร้องไห้หนักขึ้น ดังขึ้น มีอาการลงไปนั่งชักดิ้นชักงอ หากพ่อแม่ยอมตามใจลูก ลูกก็จะจดจำไปอีกว่า “ถ้าทำแบบขั้นที่ 1 ไม่ได้ ก็ทำแบบขั้นที่ 2 นี้ แล้วพ่อแม่จะยอมฉัน”

    ยิ่งพ่อแม่เห็นลูกร้องไห้งอแงแล้วก็ตามใจ หรือพูดโอ๋ลูก ลูกก็จะยิ่งจดจำว่า ทำสิ่งนี้แล้วจะมีคนรัก คนเอาใจ ซึ่งเด็กทุกๆ คนจะเรียนรู้เองตามธรรมชาติ ทำให้ยิ่งโตขึ้น ลูกจะยิ่งเอาแต่ใจมากขึ้น และหากขัดใจ ก็จะร้องไห้หรือมีพฤติกรรมที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น

ทางแก้ไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

    ต้องทำความเข้าใจกับธรรมชาติของลูกให้มากว่าลูกในวัยนี้ (ช่วง 6 ขวบแรก) นั้น หากพ่อแม่สอนและฝึกไม่ตามใจลูกทุกครั้งที่ร้องไห้งอแง ลูกจะโตขึ้นมาโดยไม่ติดนิสัยเหล่านี้
    ให้ลูกหัดเรียนรู้การช่วยเหลือตัวเอง เช่น พ่อแม่อาจจะเริ่มฝึกลูก (เริ่มตอน 2 ขวบ) ให้เริ่มใส่เสื้อผ้าเอง, กินข้าวเอง, ดื่มน้ำจากแก้วเอง ฯลฯ และควรพาลูกไปเล่นกับเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน เมื่อลูกไปเจอกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ลูกจะเรียนรู้การแบ่งปัน การได้รับและการให้
    เวลาที่ลูกร้องไห้เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ (ประเภทลงไปนั่งดิ้นชักกระตุกๆ ที่พื้น) สิ่งแรกที่พ่อแม่ต้องทำคือ การเข้าไปอุ้มลูก กอดลูกไว้ โดยไม่ต้องไปโวยวาย ไปดุด่าว่าลูก แค่กอดลูกไว้เฉยๆ แล้วพาลูกออกมาจากสิ่งที่เขาต้องการ เช่น ร้านขนม ร้านของเล่น

        การกอดลูกเอาไว้เฉยๆ โดยที่พ่อแม่ไม่ดุ ไม่ด่า ไม่ว่าอะไรลูก เมื่อลูกร้องไห้จนเหนื่อยและไม่เห็นสิ่งเร้า (สิ่งที่ตัวเองอยากได้ เช่น ขนม ของเล่น ฯลฯ) สักพักลูกก็จะลืมไปเอง ซึ่งเมื่อลูกอารมณ์เริ่มดีขึ้น พ่อแม่ควรสอนลูกว่าเหตุใดพ่อแม่จึงไม่ซื้อหรือทำสิ่งนั้นให้ลูก แต่ไม่ควรไปดุด่าลูกอีก แค่บอกเหตุผลว่าทำไมถึงไม่ทำหรือซื้อสิ่งนั้นให้ก็พอค่ะ

    โปรดจำไว้ว่า แม้ว่าลูกจะยังเล็ก จะไม่เข้าใจเหตุผลที่พ่อแม่อธิบายไปทั้งหมด แต่ถ้าพ่อแม่ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ลูกจะซึมซับถึงการใช้เหตุผล ไม่ใช่การใช้อารมณ์ของพ่อแม่โต้ตอบ พ่อแม่หลายคนมักจะด่าว่าลูกว่า “ร้องทำไม หยุดร้องเดี๋ยวนี้” ซึ่งทำให้ลูกรู้สึกว่าเขาไม่ได้รับความรัก พ่อแม่ไม่รักเขา ลูกจึงต้องเรียกร้อง (ด้วยการร้องไห้งอแง และดิ้นๆ เพิ่มขึ้นนั้นเอง)
    หัดตั้งคำถามกับลูกบ่อยๆ ถามลูกว่าลูกรู้สึกยังไงบ้าง และลูกคิดยังไงกับสิ่งที่ตัวเองอยากได้ ทำไมถึงอยากได้สิ่งๆ นั้น และทำไมจะต้องเอาสิ่งๆ นั้นให้ได้
    เปิดโอกาสให้ลูกได้หัดตัดสินใจเองบ้าง อาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับตัวของลูกเอง เช่น จะเลือกเสื้อผ้าตัวไหนดี (ลูกจะได้อารมณ์ดี เพราะบางครั้งลูกอาจจะไม่อยากใส่ชุดที่พ่อแม่เลือกให้ก็ได้), มื้อเย็นนี้จะกินอาหารอะไรดี (มีเมนูอาหารให้เลือกหลากหลาย แล้วลูกเป็นคนตัดสินใจ) ฯลฯ เป็นต้น
    พูดคุยกับลูกให้บ่อย เด็กในช่วงปฐมวัยนั้น พ่อแม่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวและเป็น “ของเล่น” ที่ดีที่สุดสำหรับเขา หากพ่อแม่พูดคุยกับลูกสม่ำเสมอ เล่นกับลูก ให้ความรัก กอดลูกให้มาก ลูกจะไม่ใช้ความก้าวร้าวเป็นตัวต่อรองกับพ่อแม่

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

30 วิธีพูดดี ให้ลูกทำตาม แม่สายป่านลองเองแล้วเวิคมากๆ ลองดูนะคะ

การพูดกับลูกเพื่อให้ลูกเชื่อฟังและทำตามบางครั้งไม่ใช่เรื่องง่าย การพูดกับลูกมีความสำคัญมากเพราะนั้นถือเป็นต้นแบบในการสอนลูกที่จะเรียนรู้ ในพูดคุยกับคนอื่นด้วย วันนี้ผู้เขียนมี เทคนิค 30 วิธีง่าย ๆ ในการพูดให้ลูกทำตามดังนี้

1.ประสานสายตาก่อนการพูด ก่อนที่จะเริ่มพูดกับลูกให้ประสานสายตากับลูกก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าลูกฟังอยู่ นั่งลงอยู่ในระดับเดียวกับลูก และมองลูกด้วยสายตาแห่งความรักไม่ใช่การขู่บังคับ

2.เรียกชื่อลูก เริ่มต้นการพูดด้วยการเรียกชื่อ เช่น น้องเดือน แม่ขอให้หนู........

3.พูดสั้น ๆ แต่ได้ใจความ อย่าพูดมากหรือบ่นมาก เพราะลูกจะจับใจความไม่ได้ และไม่รู้ว่าเราต้องการอะไร

4.ใช้คำพูดง่าย ๆ ใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่ายและได้ใจความกับลูก อย่าบ่น หรือสาธยายมากเกินไป เพราะจะทำให้ลูกไม่เข้าใจและทำหูทวนลมมากเท่านั้น

5.ทดสอบความเข้าใจ โดยให้ลูกตอบกลับมา ถ้าลูกตอบกลับไม่ได้ นั่นแสดงว่ายากและยาวเกินไป ลูกไม่เข้าใจ

6.ใช้ทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่การลงโทษ เช่นแทนที่จะพูดว่า ถ้าไม่ทำนะ เดี๋ยวคุณแม่กลับมาจะตีให้ก้นลายเลย เป็น หากลูกช่วยคั้นกะทิให้แม่ ลูกจะช่วยแม่ได้เยอะเลย เดี๋ยวคุณพ่อกลับมาเราจะได้ทานข้าวกัน เป็นต้น

7.ให้ข้อเสนอที่ลูกจะปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะกับลูก 2-3 ขวบ เป็นวัยที่ลูกยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ( Egocentric) ลูกจะมีโลกของตัวเองสูง ดังนั้นการใช้ข้อเสนอที่ลูกจะทำตาม จะช่วยลดการโต้เถียงหรือการชวนทะเลาะลงได้ เช่น บอกลูกว่าแต่งตัวซะ เดี๋ยวจะได้ออกไปเล่นข้างนอก

8.พูดทางบวก เช่นอย่าตะโกนเสียงดัง เราควรพูดว่า เราไม่ตะโกนเสียงดัง เพราะจะทำให้เจ็บคอ

9.พูดอย่างมีเป้าหมาย เช่น แม่ต้องการให้หนูแบ่งให้น้องเล่นด้วย แทนที่จะเป็นแบ่งให้น้องเล่นเดี๋ยวนี้ วิธีนี้ใช้ได้กับดีกับเด็กที่ชอบเอาใจ และเด็กที่ไม่ชอบการบังคับ

10.พูดถึงเหตุและผลที่จะตามมา เช่น เมื่อลูกแปรงฟันเสร็จ แม่ก็จะเล่านิทานให้ฟัง หรือเมื่อลูกทานอาหารเสร็จแล้วเราจะออกไปทานไอศกรีมด้วยกัน

11.อย่าคิดว่าลูกดื้อ และไม่ให้ความร่วมมือ ในทางตรงกันข้าม ดูว่าการสื่อสารของเราบกพร่องตรงไหน

12.ร่วมกิจกรรมกับลูก แทนการออกคำสั่ง ว่าปิดทีวีเดี๋ยวนี้ ถึงเวลากินข้าวแล้ว เราอาจใช้วิธีเดินไปนั่งใกล้ๆลูกดูทีวีกับลูกสัก 2-3 นาทีแล้ว ระหว่างช่วงโฆษณาให้ลูกปิดทีวีเอง บอกลูกว่าถึงเวลาทานอาหารแล้ว

13.ให้ตัวเลือกที่ฉลาด เช่น จะใส่ชุดนอนก่อนหรือจะแปรงฟันก่อนดี จะใส่เสื้อสีชมพูหรือสีเขียวดี เป็นต้น

14.พูดตรงไปตรงมา สั้นและง่าย ดูให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ เช่นหากถามเด็ก 3 ขวบว่าทำไมทำอย่างนี้ เด็กอาจตอบไม่ได้ ให้พูดกับลูกว่า มาคุยกันดูซิว่า สิ่งที่ลูกทำเป็นอย่างไร

15.พูดอย่างสุภาพและให้เกียรติ คุยกับลูกเหมือนอย่างที่เราต้องการให้ลูกคุยกับเรา

16.ไม่บังคับ การบังคับขู่เข็ญ จะทำให้ลูกไม่ให้ความร่วมมือ เช่นพูดว่าลูกต้องทำโน้นทำนี่ให้เสร็จ เปลี่ยนเป็นแม่อยากให้ลูกทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แม่ดีใจที่เห็นลูกทำ... และแทนที่จะเป็นเช็ดโต๊ะอาหารเดี๋ยวนี้ เปลี่ยนเป็นแม่อยากให้ลูกเช็ดโต๊ะอาหารให้สะอาด อย่าให้ตัวเลือกทางลบกับลูก เช่นเมื่อเวลาอากาศหนาว ให้พูดกับลูกว่าเอาเสื้อหนาวมาใส่ แทนที่จะพูดว่าหนูอยากใส่เสื้อหนาวไหม เป็นต้น

17.ฝึกสังเกตทัศนคติ วิธีคิด และการพูดของลูกเพื่อที่จะตอบสนองต่อความต้องการของลูกได้

18.ใช้ปากกา ดินสอแทนการพูด ลูกวัยรุ่นไม่ต้องการให้เราพูดซ้ำ ๆ ย้ำคิดย้ำทำ การพูดย้ำ ๆ สำหรับลูกวัยรุ่นเป็นเหมือนการยั่วโมโห หรือไม่ไว้ใจ ดังนั้นการจดบันทึกเตือนใจจะเป็นวิธีที่ช่วยให้ลูกวัยรุ่นให้ความร่วมมือได้ ดีกว่าการพูดย้ำ ๆ ลองเขียนข้อความเตือนใจตลก ๆ แล้วจะเห็นว่าได้ผลทีเดียว

19.อย่าสักแต่พูด แต่ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เด็ก ๆ เรียนรู้จากการกระทำมากกว่าคำพูด เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูกเพื่อให้ลูกเลียนแบบ

20.เติมถังอารมณ์ของลูกก่อน ก่อนพูดหรือชี้แนะให้ลูก ตรวจดูถังอารมณ์ของลูกก่อนให้แน่ใจว่าพร้อมที่จะฟังเราหรือเปล่า ไม่อย่างนั้นสิ่งที่เราพูดจะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย

21.พูดเป็นคำคล้องจองให้จำง่าย เช่นมือไว้ช่วยเหลือ ไม่ใช่เพื่อเอาไว้ตี

22.ให้ลูกเลียนแบบ เด็กเล็กต้องบอกหลาย ๆ ครั้ง ต่างจากลูกวัยรุ่น เด็กวัย 3-6 ขวบชอบการเลียนแบบ เมื่อพูดแล้วทำให้ดูและให้ลูกทำตามเป็นเหมือนการเล่นบทบาทสมมติ

23.ให้ลูกคิดเอง ฝึกให้ลูกคิดเอง โดยแทนที่จะพูดว่า ดูซิข้าวของรกรุงรัง กองเป็นภูเขาแล้ว เปลี่ยนเป็น น้องเดือนลองดูซิว่าเราจะเก็บเสื้อกีฬา รองเท้าผ้าใบ และตุ๊กตาสัตว์ไว้ที่ไหนดี เป็นต้น ให้เด็ก ๆ ลองคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาด้วยตนเอง

24.ทำให้ลูกสงบ เมื่อลูกยิ่งตะโกนเรายิ่งพูดให้เบาลง บางครั้งการเป็นผู้ฟังที่ดี จะช่วยผ่อนคลายความวิตกกังวลของลูก ให้ลูกรู้ว่าเราสนใจ และอยากช่วย บอกลูกว่าเราเข้าใจ และมีอะไรที่ลูกต้องการให้ช่วย สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกสงบลง เมื่อลูกโมโหอย่าโมโหตอบลูก เพราะจะทำให้เรื่องไปกันใหญ่

25.ให้ตัวเลือกที่ดี บอกกับลูกว่าลูกจะไปเดินเล่นที่สนามฟุตบอลคนเดียวไม่ได้ แต่ลูกสามารถเดินเล่นที่สนามหน้าบ้านได้ เป็นต้น

26.เตือนล่วงหน้า เช่น อีก 5 นาทีเราจะกลับบ้านกันแล้ว ให้ลูกบอกลาของเล่น กับเพื่อน ๆ ซะลูก

27.พูดให้ตื่นเต้นเร้าใจ วิธีนี้เป็นการเปิดโลกสำหรับเด็กขี้อาย เช่นวันนี้ทำอะไรที่โรงเรียนบ้าง เปลี่ยนเป็นเล่าให้แม่ฟังหน่อยว่าวันนี้ทำอะไรที่สนุกที่สุดที่โรงเรียน เป็นต้น

28.พูดถึงความรู้สึกของเรากับลูก เช่น “ลูกรู้หรือเปล่าว่าตอนลูกวิ่งเล่นในซุปเปอร์มาร์เก็ตระหว่างที่เราซื้อของ กันวันนี้ แม่กลัวแทบแย่ว่าลูกจะหลงทางและหายไป”

29.พูดปิดประเด็น เมื่อลูกไม่ยอมฟัง กระฟัดกระเฟียด หรือต่อรอง บอกลูกว่า อย่างไรแม่ก็จะไม่เปลี่ยนใจ โดยใช้น้ำเสียงที่มั่นคงและจริงจัง ให้ลูกรู้ว่าจำเป็นและเป็นสิ่งที่ต้องทำ

30.รักอย่างไม่มีเงื่อนไขและพูดให้กำลังใจเสมอ เช่นอย่าพูดว่าถ้าไม่กินข้าวเดี๋ยวแม่ไม่รัก ถ้าไม่นอนเดี๋ยวหมาป่ามากัด อย่าต่อรองกับลูกด้วยคำพูดที่ไร้เหตุผล แต่พูดด้วยความรักอย่างไม่มีเงื่อนไขกับลูกเสมอ

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

โหลดแบบฟรีๆ เลย นิทานดนตรี ENFA ขอบอกว่าเพราะมากคะ เพราะเปิดให้ลูกน้อยฟัง

โหลดกันได้เลยคะ นิทานดนตรี เสียงไพเราะน่่าฟัง ลูกสาวที่บ้านชอบมากๆเลยคะ
- ราชสีห์ กับ หนู
http://www.4shared.com/file/133540579/e9e272d6/01_.html [ลิงค์ภายนอก]

- ภูติน้อย กับ ช่างทำรองเท้า
http://www.4shared.com/file/133544247/af5a8dc0/02_.html [ลิงค์ภายนอก]

- แจ๊คผู้ฆ่ายักษ์
http://www.4shared.com/file/134292320/63ff4089/03_.html [ลิงค์ภายนอก]

- สี่สหายนักดนตรี
http://www.4shared.com/file/133545499/417dc55d/04_.html [ลิงค์ภายนอก]

- หนูน้อยหมวกแดง
http://www.4shared.com/file/134474490/c9468d67/05_.html [ลิงค์ภายนอก]

-ฮันเซล กับ เกรเทล
http://www.4shared.com/file/134474327/b199d78a/06_.html [ลิงค์ภายนอก]

ฝึกเด็กให้เป็นเด็กสองภาษา เริ่มตั้งแต่อายุก่อน 1 ปี จริงหรือ?

ฝึกเด็กให้เป็นเด็กสองภาษา เริ่มตั้งแต่อายุก่อน 1 ปี จริงหรือ?


ผู้ปกครองหลายคนอยากรู้ว่า ควรจะเริ่มสอนภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่สองให้เด็กให้เป็น เด็กสองภาษา ตั้งแต่อายุเท่าไหร่ดี บทความนี้มี คำตอบคะ

แพทริเซีย คัห์ล ได้กล่าวในงานที่ซีเอเติล เมื่อ ตุลาคม 2010 ที่ผ่านมาว่า ทาง Lab ของเธอได้ทำการสังเกตการ อนุรักษ์ภาษาของชาวอินเดีย ซึ่งใช้ภาษาโคโร่ อันมีคนใช้อยู่เพียง 800 คนทั่วโลก โดยผู้ใช้ภาษานี้ทุกคนนั้น ทราบ ต่อๆกันมาว่าการพูดภาษาดังกล่าวกับเด็กทารกบ่อยๆ เป็นการทำให้เด็กเรียนรู้และสามารถอนุรักษ์ภาษาโคโร่ไว้ได้

จากวิถีดังกล่าวกับความรู้ดั้งเดิมเกี่ยวกับอัจฉริยะภาพทางภาษาของทารก ที่การเรียนรู้เรื่องภาษาจะมีมากตอนช่วง ตั้งแต่ทารกจนถึง 7 ขวบและค่อยๆลดลงมาเมื่อโตขึ้นนั้น เธอ ได้ต่อยอดการวิจัยต่อมากับการมองหาการเรียนรู้ของ วัยทารกผ่าน "ระยะพัฒนาการแรกๆของช่วงจุดวิกฤต" ซึ่งคือช่วงประมาณ 8-10 เดือน ซึ่งจากการทดลองพบว่า เด็กในช่วงวัยนี้จะ เก็บสถิติรูปแบบการพูดผ่านการฟังมาประมวลผลว่า กลุ่มเสียงที่ต้องการใช้เพื่อการเรียนรู้ภาษาในขั้นต่อไปเมื่อโตขึ้นนั้นมี อะไรบ้าง

จากแบบทดสอบ การเรียนรู้เรื่องการออกเสียง L และ R โดยการควบคุมสภาพแวดล้อม โดยเด็กคนหนึ่งถูกเลี้ยงโดยแม่ชาวอเมริกัน และอีกคนหนึ่ง เป็นชาวญี่ปุ่น โดยปกติ R (ใช้มากในการออกเสียงภาษาญี่ปุ่น) และ L กับ R (ซึ่งเป็นการพูดหลักในภาษาอังกฤษ) พบว่าเด็กเริ่มมี คะแนนการเรียนรู้เรื่องเสียงตัว L กับ R (ในรูปแบบอังกฤษ) แตกต่างกันอย่างชัดเจนตามการเลี้ยงดูโดยแม่แต่ละเชื้อชาติ และภาษา  ดังนั้นในช่วงเดือนที่ 8-10 เราอาจกล่าวเป็นนัยได้ว่าในช่วงเวลานี้นั้นเป็นช่วงที่เด็กเริ่มเก็บสถิติ และข้อมูลของกลุ่มเสียงที่ตัวเองต้องใช้เพื่อเลือก เป็นภาษาแม่ในช่วงเวลาต่อไป

จากประสบการณ์โดยตรงของแม่สายป่านและน้องออมใจ
ปัจจุบันน้องออมใจ อายุ 1 ปี 5 เดือน โดยส่วนตัวแล้วแม่สายป่านจะพูดกับน้องเป็นภาษาอังกฤษโดยตลอด รวมถึงให้น้องดูดีวีดีเสริมพัฒนาการโดยดูไม่เกินวันละ1 ชั่วโมงเท่านั้น และหลังจากนั้นช่วงระหว่างวันที่น้องออมใจตื่น จะสอนผ่านการเรียนรู้ ปัจจุบันน้องสามารถออกเสียงเป็นคำๆเป็นภาษาอังกฤษได้แล้วคะ โดยไม่สับสนระหว่างภาษาไทย รวมถึงแม่สายป่านให้น้องฝึกเรียนภาษามือ โดยนำจากวีดีโอ Signing Time ซึ่งได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อจริงๆคะ ปัจจุบันน้องสามารถสื่อทางภาษามือได้แล้ว เวิคจริงๆคะ ว่างๆ เดี๋ยวแม่สายป่านจะเอาคลิปมาลงให้นะจ๊ะ