วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ดนตรีมีความเกี่ยวพันกันกับปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ และปัญญาทางด้านคณิตศาสตร์ได้อย่างไร



วันนี้แม่สายป่านมีบทความเกี่ยวกับดนตรีมีความเกี่ยวพันกันกับปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ และปัญญาทางด้านคณิตศาสตร์ได้อย่างไร

การเรียนดนตรีจะช่วยให้สมองส่วนที่ทำหน้าที่เป็นส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และความทรงจำ ซึ่งมีความไวต่อการตอบสนองต่อเสียงต่างๆ ทำงานได้รวดเร็วมากขึ้นการเล่นดนตรีทำให้ตัวเชื่อมระหว่างสมองซีกซ้ายและซีกขวา มีขนาดใหญ่กว่าคนทั่วไปเพราะนักดนตรีต้องใช้การประสานกันของมือทั้งสอง ในกาลเทศะที่เหมาะสม ภายในเวลาอันรวดเร็ว ตัวเชื่อระหว่างสมอง ๒ ซีก ต้องทำงานหนัก เพราะต้องทำการส่งผ่านข้อมูลไปมาอยู่ตลอดเวลา

การเล่นดนตรีตามโน้ต มีส่วนในการทำให้สมองส่วนซีรีเบลลั่มที่ทำหน้าที่ประสานงานควบคุม การเคลื่อนไหว การทรงตัว การรักษาสมดุลของร่างกาย และเป็นที่ที่บันทึกความทรงจำ ของการเรียนรู้ในแบบต่างๆ ที่จะกลายเป็นความจำอัตโนมัติ

เช่น ความชำนาญในการจดจำคำ และเก็บความจำที่เป็นกระบวนการที่ทำให้รู้เทคนิคการเรียนรู้ขั้นตอน ต่างๆ โดยอัตโนมัติเช่น วิธีการขับรถ วิธีการว่ายน้ำ และอื่นๆ มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ เพราะ กิจกรรมการเล่นดนตรีที่ต้องบรรเลงโน้ต ให้ครบตามที่ระบุเอาไว้ และต้องให้มีความไพเราะ มีเสียงที่ให้อารมณ์เหมาะสม กับเพลงภายในเวลาอันรวดเร็วนั้น เป็นเงื่อนไขที่ทำให้สมองส่วนซีรีเบลลั่มต้องทำงานมากขึ้นกว่าปกติ ด้วยเหตุนี้นักดนตรีจึงมีขนาดของซีรีเบลลั่ม ที่ใหญ่กว่าคนทั่วไปประมาณ ๕ %

สมองของเด็กตอบรับการกระตุ้นด้วยดนตรีได้ดีกว่าสมองของผู้ใหญ่ และการกระตุ้นด้วยดนตรี ยังกินพื้นที่การกระตุ้นทำงานของสมองทั้งส่วนหน้า และส่วนหลังได้อย่างทั่วถึง ทำให้สมองได้ทำงานพร้อมกันในหลายๆส่วน ทำให้มีการเพิ่มจำนวนของใยประสาทขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งเด็กจะสร้างใยประสาทได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ และยิ่งถูกกระตุ้นใช้บ่อยๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ (หู ตา จมูก ลิ้น ผิวหนัง) ใยประสาทก็จะแข็งแรง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น ข้อมูลก็จะเดินทางได้เร็ว ทำให้เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น

ข้อสรุปที่ชัดเจนคือการเล่นดนตรีทำให้ความสามารถทางสติปัญญา ในส่วนของมิติสัมพันธ์เพิ่มขึ้น และยังส่งผลให้เกิดความเข้าใจความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ ได้ดีขึ้นด้วย หากจะอธิบายความอย่างสั้นที่สุด ปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ก็คือ ความฉลาดในการทำความเข้าใจกับความสัมพันธ์ของมิติ ที่มีทั้งกว้าง ยาว สูง

หากเราจะวัดความฉลาดของมนุษย์โดยใช้มาตร IQ (Intelligence Quotient) ของ LMTerman ที่เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ ค.ศ.๑๙๑๖ มนุษย์ที่จัดว่ามีฉลาดก็ได้แก่ ผู้ที่มีความสามารถทางด้านภาษาและการคิดคำนวณ มาในปี ค.ศ.๑๙๘๓ Howard Gardner ก็เขียนหนังสือชื่อ Frams ofMind เพื่อนำเสนอว่า ความฉลาดของมนุษย์นั้นมีอยู่ ๗ ด้านด้วยกัน มาตรวัดตัวใหม่ที่เกิดขึ้นก็คือ MI (Multiple Intelligence) และต่อมาได้ในปีค.ศ.๑๙๙๕ ก็ได้เสนอเพิ่มเป็น ๘ ด้าน

ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่ Daniel Goleman เสนอมาตรวัดความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ (Emotional Quotient) ต่อสาธารณะผ่านทางข้อเขียนของเขาเช่นกันMI หรือ พหุปัญญา เป็นแนวคิดที่มองมนุษย์อย่างรอบด้าน ที่สำคัญคือมองว่า

มนุษย์ทุกคนต่างก็มีการเรียนรู้ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ที่เกิดขึ้นจากการมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมใน ลักษณะต่างๆ จนเกิดเป็นprofileเฉพาะที่แต่ละคนสั่งสมมาตลอดชีวิต สมองซึ่งเป็นเครื่องบันทึกความจำของแต่ละบุคคลจึงมีลักษณะตัวตามเจ้าของไปด้วยปัญญาหรือความสามารถของมนุษย์ ตามการจำแนกของการ์ดเนอร์มีอยู่ ๘ ด้านด้วยกันคือ

ปัญญาทางด้านภาษา
ปัญญาทางด้านตรรกและคณิตศาสตร์
ปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์
ปัญญาทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
ปัญญาทางด้านดนตรี
ปัญญาทางด้านมนุษยสัมพันธ์
ปัญญาทางด้านการเข้าใจตนเอง
ปัญญาทางด้านธรรมชาติวิทยา

ถ้าจะอธิบายอย่างยาว อ.อารี สัณหฉวี และอ.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ ก็ได้เขียนเอาไว้ในบทความ เรื่องพหุปัญญา ว่าปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence) คือความสามารถสูงในการมองเห็นพื้นที่ ได้แก่ นายพราน ลูกเสือ ผู้นำทาง และสามารถปรับปรุงและคิดวิธีการใช้เนื้อที่ได้มี เช่น สถาปนิก มัณฑนากร ศิลปิน นักประดิษฐ์ ปัญญาด้านนี้รวมไปถึงความไวต่อสี เส้น รูปร่าง เนื้อที่ และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้ยังหมายถึง ความสามารถที่จะมองเห็น และแสดงออกเป็นรูปร่างถึงสิ่งที่เห็นและความคิดเกี่ยวกับพื้นที่
ปัญญาทางด้านดนตรีมีความเกี่ยวพันกันกับปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ และปัญญาทางด้านคณิตศาสตร์ได้อย่างไร
ดร.เราส์เชอร์ไม่ได้ให้คำตอบที่ชี้ชัดลงไป แต่ได้นำตัวเลขมาสนับสนุนความสัมพันธ์ที่พบ ว่า

เด็กที่เรียนดนตรีสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง ครั้งละ ๓๐ นาที ทำกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะทางด้านมิติสัมพันธ์ และทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เรียนดนตรีการเรียนดนตรีมีผลต่อปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ และคณิตศาสตร์ของเด็กในวัย ๓-๕ ปีที่สุด รองลงมาคือ ๖-๙ ปี จากนี้ไปจะส่งผลอ่อนแรงลงไปเรื่อยๆทั้งปัญญาทางด้านตรรกและคณิตศาสตร์ ปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ และปัญญาทางด้านดนตรี ต่างก็เป็น ๑ ใน ๘ ด้านของพหุปัญญาที่พัฒนาได้ด้วยดนตรีทั้งสิ้น

...เรามายิงปืนนัดเดียวให้ได้นก ๓ ตัว กันดีไหม
ปัญญาทางด้านดนตรีจะมีความเกี่ยวพันกันกับปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ และปัญญาทางด้านคณิตศาสตร์ได้อย่างไรนั้น

ดร.เราส์เชอร์ไม่ได้ให้คำตอบที่ชี้ชัดลงไป แต่คำถามนี้เป็นคำถามที่จำเป็นต้องตอบ เนื่องจากคำตอบที่ได้มาจะช่วยให้เรามองเห็น ความสัมพันธ์ระหว่างปัญญาทั้ง ๓ ด้านได้ดีมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เรามียุทธศาสตร์ ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่ให้สำเร็จประโยชน์ในลักษณะบูรณาการได้จากการลงแรงทำงานในครั้ง เดียวแน่นอนว่าการเล่นดนตรีมีผลทำให้ปัญญาทางด้านดนตรีพัฒนา

แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ ผลจากการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า การเล่นดนตรีช่วยให้ปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์พัฒนาขึ้น และปัญญาทางด้านคณิตศาสตร์ก็พัฒนาขึ้นด้วย หากแต่อะไรทำให้เป็นเช่นนั้น ปัญญาทั้งสามด้านทำงานร่วมกันในลักษณะเช่นไร แน่นอนว่าการเล่นดนตรีมีผลทำให้ปัญญาทางด้านดนตรีพัฒนา แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ ผลจากการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า การเล่นดนตรีช่วยให้ปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์พัฒนาขึ้น และปัญญาทางด้านคณิตศาสตร์ก็พัฒนาขึ้นด้วย

หากแต่อะไรทำให้เป็นเช่นนั้น ปัญญาทั้งสามด้านทำงานร่วมกันในลักษณะเช่นไร ความสัมพันธ์ของมิติที่เราคุ้นเคยกันดีคือ มิติที่มองเห็นได้ จับต้องได้ มีความกว้างยาว สูง ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด แต่ยังมีความสัมพันธ์ของมิติอีกชนิดหนึ่งที่เข้าใจได้ยากและไม่มีรูปปรากฏให้เห็น ก็คือความสัมพันธ์ของมิติเวลา เรื่องของมิติสัมพันธ์ และคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์ที่แยกจากกันไม่ได้ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ เรขาคณิตที่เป็นการใช้ตรรกวิทยาสัญลักษณ์ ประกอบไปกับภาพเชิงมิติสัมพันธ์ หรือเรขาคณิตวิเคราะห์ที่ใช้ภาพเชิงมิติสัมพันธ์ประกอบกับสมการทางพีชคณิต

ในทางดนตรี แม้จะไม่มีมิติที่สัมผัสได้ด้วยตา และการจับต้อง แต่ถ้าเราถ่ายทอดความถี่ของเสียงออกมาเป็นภาพได้ เราก็จะเห็นเส้นความชัน หรือเส้นcontour ของเสียงในความถี่ต่างๆได้

เช่นกัน การสัมผัสกับมิติของเสียงจึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้จินตนาการ และการรับรู้ที่ละเอียด สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฟังจะต้องดี เรื่องที่ติดตามมาก็คือเรื่องของการมีสมาธิในการฟัง แลความมีสุนทรียภาพ มิติของดนตรีประกอบขึ้นจากท่วงทำนองของเสียงสูงต่ำ ดังเบา และจังหวะที่ประกอบเข้าด้วยกัน ความเป็นดนตรีประกอบขึ้นจาก

*ความสูงต่ำของเสียง (pitch) ที่ร้อยเรียงเป็นทำนองหลัก (melody) ความสูงต่ำนี้ให้จินตภาพของมิติด้านสูง-ต่ำ อ้วน-ผอม และหนัก-เบา

*ความดังเบา (dynamic) ซึ่งให้จินตภาพของมิติด้านใกล้-ไกล หรือใหญ่-เล็ก

*จังหวะช้าเร็ว หรือชีพจรจังหวะ (tempo) เป็นมิติทางเวลา

*ภายในชีพจรจังหวะ (tempo) ประกอบไปด้วยจังหวะ (rhythm) หรือการเน้นให้เกิดเสียงจังหวะที่มีความหนักเบา ถี่ห่าง ซึ่งให้จินตภาพในลีลาของการเดินทาง

*ในทำนองหลัก (melody) นอกจากจะประกอบด้วยความสูงต่ำของเสียงแล้ว ยังมี

- ความหนาแน่นและช่องว่าง (duration) ซึ่งให้จินตภาพโดยตรงเกี่ยวกับพื้นที่ และปริมาตร

- การเน้นสำเนียงของทำนองหลัก (accent) ที่จะก่อให้เกิดความรู้สึกถึงความหนา-บางอย่างประณีต

*นอกจากนี้ในโครงสร้างของกลุ่มเสียงในคีย์ต่างๆยังมีลักษณะของการจัดกลุ่มpattern อนุกรม และลำดับ ซึ่งคล้ายกับระบบจำนวนนับ และพีชคณิตในคณิตศาสตร์ด้วย

*ในการดำเนินไปของดนตรียังต้องอาศัยมิติทางเวลาเป็นแกนที่ดนตรีจะดำเนินไปดนตรีจึงแสดงถึงปรากฏการณ์ที่มีการเกิดก่อน เกิดหลัง ความสืบทอด และการขาดตอน ขององค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวไว้ข้างต้น เป็นการใช้จินตนาการในมิติทั้ง ๔ (กว้าง ยาว สูง และเวลา) อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับคณิตศาสตร์

สมองจึงต้องผลิตจินตนาการขึ้นมาเพื่อรับรู้เสียงของดนตรีที่มีความซับซ้อนที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างของเสียงที่มีความหนาแน่น ช่องว่าง ระยะ ความใกล้-ไกล ความสูง-ต่ำ ความใหญ่ ความเล็ก ความบางของเสียงที่แตกต่างกันไปในแต่ละโน้ต และจะยิ่งซับซ้อนมากขึ้นอีก เป็นหลายเท่า หากมีการเพิ่มแนวของเสียงประสานเข้าไปในเพลง ซึ่งจะทำให้มิติของเพลงยิ่งทวีคูณ เพิ่มขึ้นตามจำนวนของแนวประสานที่สอดใส่เข้าไป และตัวจินตนาการที่เกิดขึ้นก็ต้องมีโครงสร้าง ที่ซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ ตามความซับซ้อนของดนตรี

เพื่อที่จะจำลองเสียงที่ได้ยินให้เกิดขึ้นอีกครั้งในสมอง ดุจเดียวกับที่เคยได้ยินมานั่นเอง แต่กระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเราไม่รู้สึกถึงความล่าช้าในการถ่ายทอดสัญญาณด้วยเหตุนี้ สมองจึงต้องสร้างคุณสมบัติชนิดหนึ่งขึ้นเพื่อรองรับความสามารถ หรือปัญญาทางด้านดนตรี ซึ่งเป็นคุณสมบัติร่วมกันกับที่สมองต้องใช้ เมื่อต้องทำงานเกี่ยวกับเรื่อง ปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ และปัญญาทางด้านคณิตศาสตร์ ดังนั้นการพัฒนาปัญญาทางด้านดนตรี จึงมีความสัมพันธ์กันกับความก้าวหน้าของปัญญาทั้ง ๒ ด้าน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเอง

แต่ดนตรีมีฤทธิ์พิเศษที่ปัญญาในอีก ๒ ด้านไม่มี นั่นคือ ดนตรีเป็นมนต์ที่ทำให้ผู้เรียนเกิด ความเพลิดเพลิน มีสมาธิอย่างต่อเนื่อง เกิดการซึมซับรับรู้ทั้งในระดับรู้ตัว กึ่งรู้ตัว และไม่รู้ตัวขึ้นได้ อำนาจที่ว่านี้ทำให้การพัฒนาปัญญา(ทั้ง ๓ ด้าน) ด้วยดนตรีมีคุณอย่างเอนกอนันต์

ติดตามข่าวสาร บทความดีๆทั้งหมดได้ที่ www.aomjaitoy.com หรือ www.facebook.com/aomjaitoyfanpage

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

“ Using Your Word” by แม่สายป่าน


“ Using Your Word”

 ถ้าคุณแม่คุณพ่อคนไหนได้ดูหนังฝรั่งบ่อยๆในหนังครอบครัว เรามักจะเจอคำนี้ที่คุณพ่อคุณแม่พูดกับลูกบ่อยๆในหนัง เป็นอีกวิธีหนึ่งคะที่ช่วยสอนให้ลูกว่าตอนนี้ตัวเองรู้สึกอย่างไร วันนี้แม่สายป่านจะมาอธิบายวิธีใช้คำพูด ซึ่งขอบอกคะว่าได้ผลจริงๆคะ
การบอกกล่าวด้วยวาจา หรือที่เราเรียกันว่า “Using Your Word” แปลว่าอะไร
เมื่อคุณพ่อคุณแม่ถามลูกว่าให้ใช้คำพูดแปลว่า เรากำลังพยายามให้ลูกใช้ภาษาหรือคำพูดที่อธิบายความรู้สึกข้างใน ความต้องการของเด็กๆ ก่อนที่จะพยายามลงมือทำอะไรซักอย่าง การทำวิธีนี้จะเป็นวีธีที่ช่วยเชื่อมโยงเพื่อให้เด็กตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้องก่อนการลงมือกระทำ เพราะว่าการพูดถึงความรู้สึกของเค้า จะทำให้เค้าคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น โดยใช้อารมภ์ที่น้อยลง เหมือนศาสนาพุทธนั่นแหละคะ ว่าให้ รู้หนอ รู้หนอ โกรธหนอ โกรธหนอ เป็นการรู้สึกตัวทุกวินาทีว่าเรากำลังรู้สึกอะไร หลายๆครั้ง เด็กอาจจะทำไปโดยไม่ได้นึกถึง หรือขาดสตินั่นเอง การพูดแสดงความรู้สึกจึงเป็นทางช่วยที่จะคอยให้เด็กเข้าใจถึงความรู้สึกได้ดีขึ้น และมีวิธีการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น รวมถึงการพูดความรู้สึกจะทำให้พ่อแม่เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยที่เด็กจะไม่รู้สึกเก็บกดอยู่ข้างใน แม่สายป่านขออนุญาติยกตัวอย่างนะคะ จะได้เห็นภาพได้ชัดขึ้น

ณ วันหนึ่งในขณะที่น้องออมใจกำลังนั่งเล่นของเล่นกับเพื่อนข้างบ้าน แล้วเพื่อนข้างบ้านดึงของเล่นออกไปจากมือน้องออมใจโดยไม่ขอน้องออมก่อน น้องออมกำลังจะเอื้อมมือที่จะเข้าไปตีเด็กคนนั้น เมื่อแม่สายป่านเห็นจึงบอกไปว่า ใช้คำพูดซิลูก อย่าใช้กำลังหรือ “ Aommy ! Please Use your word” แทนที่แม่สายป่านจะพูดว่า อย่าตีนะลูกหรือ “Stop it” เป็นการเรียกสติให้กับน้องออมใจ และน้องออมก็จะตอบกลับมาว่า หนูรู้สึกโกรธที่เค้าแย่งของเล่นออกไปจากมือหนูหรือ “I feel angry when she stole the toy from my had” การที่ให้ลูกรู้สึกระบายความรู้สึกอยู่ข้างใน จะเป็นการเตือนสติให้ลูกเข้าใจว่าเค้ากำลังคิดอะไร และจะทำอะไร

ทำไมถึงยากกับการที่ให้ลูกใช้คำพูดในการแทนความรู้สึก

การใช้คำพูดมันจะมีหลายสเต็ป อย่างแรกลูกจะเข้าใจว่าเค้ากำลังรู้สึกอย่างไร และเด็กจะพยายามที่จะเข้าใจว่าตอนนี้เค้าอยู่ในช่วงหงุดหงิด หรือกำลังจะโกรธกันแน่ หลังจากนั้นเด็กจะพยายามหาคำพูดที่เหมาะสมกับความรู้สึกของเค้าในใจ ซึ่งบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องช่วยลูกให้ลูกเข้าใจ ในความแตกต่างในแต่ละคำพูด ยกตัวอย่างนะคะ
น้องออมใจกำลังหัวเราะอย่างมีความสุข แม่สายป่านก็จะบอกทันทีว่า “There is my happy Girl” หรือ ลูกสาวของแม่กำลังมีความสุขแม่สายป่านจะพยายามหาคำพูดเพื่อที่จะมาอธิบายความรู้สึกของน้องออมใจตอนนี้ เพื่อให้น้องออมใจเข้าใจว่าควรใช้คำพูดอะไร

เมื่อเด็กๆสามารถเข้าใจถึงความรู้สึกข้างใจของเค้าแล้ว เค้าก็เรียนรู้ที่จะแยกแยะคำ และความรู้สึกของเค้าตอนนั้นซึ่งเด็ก 1-2 ขวบสามารถเข้าใจและเรียนรู้ได้แล้ว ดังนั้นวิธีการนี้ควรฝึกตั้งแต่เด็ก ยกตัวอย่างนะคะ
ในขณะที่น้องออมใจกำลังเล่นตัวต่อและพยายามประกอบมันเข้าด้วยกัน จนกระทั่งน้องออมรู้สึกเหนื่อย แต่สุดท้ายน้องออมใจก็ประกอบไม่ได้ซักที น้องออมใจจึงขว้างของเล่นทิ้ง แม่สายป่านจึงพูดสวนไปทันทีว่า “Aommy, I know that you are angry at the puzzle, but we don’t throw the puzzles, Say, “I’m angry; Help me, Mommy,” and I will help you with the puzzle” หรือ ออมใจคะแม่รู้นะคะว่าหนูกำลังโมโหเกี่ยวกับตัวต่อ แต่เราไม่ควรโยนมันทิ้งนะคะ พูดตามแม่นะคะ หนูโมโหกับตัวต่อ คุณแม่ช่วยหน่อยได้มั้ยคะแล้วแม่จะช่วยหนู

อย่างเหตุการณ์ที่แม่สายป่านยกตัวอย่าง คือสาเหตุเกิดจากน้องออมใจพยายามต่อจนเหนื่อย จนทำให้เกิดความโกรธ เมื่อออมใจรู้สึกโกรธจึงขว้างของเล่น การพูดแบบนี้จะทำให้เด็กได้รู้ความเข้าใจระหว่าง ความเหนื่อยที่สามารถก่อตัวขึ้นมาให้เป็นอารมภ์โกรธ เข้าใจความรู้สึกของตนเองมากขึ้น

คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยเด็กๆในการสอนให้เด็กใช้คำพูดแทนความรู้สึกที่อยู่ข้างใน ขอยกตัวอย่างอีกเหตุการณ์หนึ่งนะคะ
น้องออมใจชอบเล่นกับหมาชื่อซุปปี้ ในขณะที่เล่นกันอยู่ด้วยความที่น้องออมตัวเล็ก และซุปปี้ตัวใหญ่เวลาซุปปี้กระโจนและเล่นกับน้องออมใจ จนทำให้น้องออมใจล้มลงกับพื้น ขณะที่แม่สายป่านเห็นเหตุการณ์ แม่สายป่านพูดว่า น้องออมใจ อย่าตีพี่ซุปปี้นะ หนูสามารถพูดด้วยน้ำเสียงที่โกรธว่า ไม่นะ ซุปปี้ อย่ากระโดด ฉันไม่ชอบแทน การที่แม่สายป่านทำแบบนี้จะช่วยลดการกระทำลงหรือที่เราเรียกกันว่า Physical expression

เห็นมั้ยละคะว่ามันไม่ยากอย่างที่คิดแต่ต้องใช้ระยะเวลา และความอดทนในการสอน ในช่วงระหว่างวันคุณพ่อคุณแม่ควรฝึกไปพร้อมๆกันโดยอธิบายว่า ให้ลูกเข้าใจว่าคุณพ่อคุณแม่กำลังรู้สึกอย่างไร รวมถึงน้ำเสียงที่กำลังบ่งบอกให้ลูกว่าตอนนี้คุณพ่อคุณแม่รู้สีกอย่างไร อย่าคิดว่าเด็กจะไม่เข้าใจนะคะ เพราะความจริงแล้วเด็กฉลาดมากกว่าที่คุณพ่อคุณแม่คิดเอาไว้ เค้าสามารถจับอารมภ์ จับน้ำเสียง อาม่าน้องออมใจมักสอนเสมอคะ ว่าอย่าดุลูกพร่ำเพรื่อ พยายามแยกน้ำเสียงให้ออกว่าอันนี้โกรธ อันไหนโกรธมาก พยายามแยกน้ำเสียงในแต่ละระดับ ว่าระดับเสียง และน้ำเสียงแบบนี้คุณแม่โกรธแล้วนะ วิธีทำแบบนี้ไม่ได้ใช้เฉพาะเวลาที่ลูกกำลังทำอะไรไม่ดี แต่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ตลอดคะ วิธีนี้จะเป็นการช่วยให้มีการสื่อสารที่ดีขึ้นไม่ว่าระหว่างพ่อแม่กับลูก หรือลูกกับเพื่อนๆ ซึ่งจะเป็นผลดีในระยะยาวในอนาคตเมื่อลูกโตขึ้น
วันนี้แม่สายป่านขอฝากเรื่องนี้ให้คุณพ่อคุณแม่ลองให้ปรับใช้กันดูนะคะ

ทำอย่างไรที่จะส่งเสริมให้ลูกรู้สึกว่าเค้าสำคัญ by แม่สายป่าน




สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาสุขภาพของถึงคือการให้เด็กรู้สึกถึงความสำคัญและมีค่า รวมถึงการนับถือตนเอง ซึ่งจะเป็นการสร้างเกราะของเด็กสำหรับการใช้ชีวิตในสังคม เด็กที่รู้สึกว่าตัวเองสำคัญจะสามารถที่จัดการความขัดแข้งหรือการต่อต้านแรงกดดันในเชิงลบ พวกเขาจะมีแนวโน้มที่จะมี Positive Thinking และคิดอย่างรวดเร็วและสนุกกับชีวิตกว่าเด็กทั่วไป เด็กเหล่านี้จะอยู่กับโลกของความเป็นจริง และมองโลกในแง่บวก ซึ่งบุคลิกภาพและพฤติกรรมจะเต็มไปด้วยพลังในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆอย่างล้นเหลือ จนทำให้เพื่อนรอบข้างรู้สึกอยากอยู่ใกล้ เพราะทำให้เค้ารู้สึกอบอุ่นใน และกำลังใจ ในทางตรงข้ามกัน เด็กที่ไม่ได้รู้สึกว่ามีความสำคัญหรือไม่นับถือในตนเอง ความท้าทายจะกลายเป็นแหล่งที่มาของความวิตกกังวลและยุ่งยาก และสุดท้ายเด็กก็จะเลือกที่จะไม่สู้กับปัญหา หรือหนีปัญหานั่นเอง

พ่อแม่เป็นคนที่มีอิทธิพลที่สุดที่จะทำให้ลูกรู้สึกสำคัญและมีค่า อย่าลืมที่จะเชยชมลูกๆเมื่อลูกๆทำสิ่งดีๆ หรือความพยายาม ความกล้าหาญ พยายามส่งเสริมลักษณะที่ดีของลูกๆ พยายามหาวิธีที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดและความล้มเหลวของพวกเขา พยายามชมเชยลูกด้วยน้ำเสียงที่จริงใจ พยายามสอนให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่ก็สามารถทำผิดพลาดเป็นบางครั้งได้เหมือนกัน รวมถึงพยายามให้ลูกได้รับรู้ว่า ลูกคือสิ่งที่สำคัญสำหรับพ่อแม่เช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันระหว่างที่คุณสอนลูก คุณควรที่จะมีความภาคภูมิใจตนเองเช่นเดียวกัน เพราะเด็กก็จะเรียนรุ้ที่จะทำเช่นเดียวกัน เพราะเค้าจะดูพ่อแม่เป็นตัวอย่าง

บางครั้งเด็กอาจมีควาเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความสามารถของพวกเค้าเอง พยายามส่งเสริมให้ลูกๆของคุณตั้งความความหวังที่สมจริงและมาตรฐานสำหรับตัวเอง โดยช่วยให้ลูกระบุลักษณะหรือทักษะที่พูวกเข้าต้องการที่จะปรับปรุงและช่วยให้พวกเขาวางแผนในการที่จะบรรลุเป้าหมาย ส่งเสริมให้ลูกๆกลายเป็นส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกการทำงานเป็นทีมและสำเร็จ

แม่สายป่านขอเล่าประสบการณ์คร่าวๆให้ฟังนะคะ สมัยแม่สายป่านเด็กๆ ช่วยที่เราปิดเทอมคุณแม่จะส่งไปแคมป์เพื่อให้ลูกๆที่รุ้สึกถึงการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รวมถึงการทำกิจกรรมเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น และขอบอกคะว่าได้ผลจริงๆ เพราะพอเราโตขึ้นมาได้หน่อยตอนอยุ่มัธยมต้น เราไม่กลัวแม้แต่จะเจอกับคนแปลกหน้า เราสามารถที่จะทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ๆโดยไม่เขินอายเลยจริงๆคะ เราไม่กลัวการที่จะกล้าแสดงออกเลยแม้แต่ครั้งเดียว เพราะคุณแม่ของแม่สายป่านมักจะสอนให้เรารู้จักการกล้าแสดงออกอย่างถูกวิธี จนกระทั่งมาถึงรุ่นหลานสิ่งที่อาม่าน้องออมใจสอนก็เป็นแบบเดียวกัน เพราะอาม่าน้องออมใจสอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะเจ็บ เรียนรู้ที่จะเอาตัวรอด ด้วยความที่บ้านเราเป็นร้านขายยา สีสันหลากตา ทำให้น้องออมใจชอบปีนเก้าอี้ ขึ้นมารื้อยาหรือเล่นยา ช่วงแรกๆน้องออมตกเก้าอี้บ่อยมาก อาม่าน้องออมใจมักบอกเสมอคะว่า “อย่าไปทำเสียงตกใจ หรือโวยวาย” จนปัจจุบัน แม้ว่าน้องออมจะตกเก้าอี้หรือเอาหัวไปกระแทกกับอะไรก็ตาม น้องออมไม่ร้องโวยวายแม้แต่ครั้งเดียว เมื่อตกเสร็จปุ๊บ น้องออมจะแค่ลูบๆตรงที่เจ็บแล้วลุกขึ้นมาเล่นใหม่ อาม่าน้องออมใจไม่เคยห้ามเลยคะ ว่า “อย่าปีน เดี๋ยวตก” แต่สิ่งที่ใดจากอาม่าน้องออมใจคือ “ปล่อยเค้า ถ้าตก แล้วเจ็บเค้าจะได้เรียนรู้ว่ามันอันตราย” อันนี้คือเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงคะ เพราะด้วยนิสัยของเด็กแล้วร้อยทั้งร้อยเชื่อเถอะคะ ว่าชอบลองของ เพราะเป็นวัยเรียนรู้ของเค้า กล้าคิด กล้าลอง กล้าทำ ดั้งนั้น ก็ตั้องกล้าเจ็บด้วย วันนี้แม่สายป่านฝากไว้เพียงเท่านี้คะ พรุ่งนี้เจอกันใหม่นะคะ

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทำอย่างไรเมื่อเจ้าตัวเล็กชอบขว้างสิ่งของ

ทำอย่างไรเมื่อเจ้าตัวเล็กชอบขว้างสิ่งของ


การขว้างสิ่งของเป็นสิ่งที่ลูกน้อยวัย 18 เดือนถึง 3 ขวบชอบทำค่ะ ซึ่งถือเป็นพัฒนาการปกติของเด็กวัยนี้เป็นการเรียนรู้
การปล่อยมือและการโยน ซึ่งต้องใช้ความสัมพันธ์ระหว่างมือและสายตาในการขว้างสิ่งของไปในทิศทางต่างๆ
นอกจากนี้ยังเป็นการเรียนรู้ทางอ้อมเกี่ยวกับ แรงดึงดูดด้วยว่าเมื่อสิ่งของถูกขว้างออกไปก็มักจะตกลงสู่พื้นเสมอ
Roni Leiderman รองคณบดีสถาบันครอบครัวของมหาวิทยาลัย Nova Southeastern ในฟลอริด้าให้คำแนะนำว่า
หากการขว้างสิ่งของของลูกน้อยไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายอะไร เช่นไม่ได้ทำให้กระจกแตก หรือไม่ได้ทำให้ใคร
ได้รับบาดเจ็บ ก็ไม่ควรทำโทษลูกน้อยค่ะ แต่ควรสอนให้เค้ารู้จักขอบเขตว่าอะไรที่สามารถขว้างได้และที่ไหน
ที่สามารถทำได้ โดยมีเกร็ดเล็กๆน้อยๆสำหรับคุณแม่ที่ลูกน้อยชอบขว้างสิ่งของดังนี้
สอนให้ลูกรู้ว่าอะไรที่สามารถขว้างได้และอะไรที่ห้ามขว้าง เช่น ให้ลูกเข้าใจว่าลูกบอล (ควรเป็นลูกบอลโฟมหรือ
ลูกบอลสำหรับเด็กที่เมื่อขว้างแล้วไม่ทำให้เกิดอันตรายนะคะ) สามารถขว้างได้ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรมีส่วนร่วม
ในการเล่นโยนลูกบอลกับลูกด้วย อาจเป็นการเล่นเกมกับลูก เช่น เกมโยนลูกบอลลงตะกร้า โยนก้อนหินลงในบ่อน้ำ
แต่เมื่อลูกเริ่มขว้างสิ่งของที่ไม่ควรขว้าง เช่น รองเท้า หรือของใช้อย่างอื่น คุณพ่อคุณแม่ต้องห้ามลูกด้วยน้ำเสียง
และท่าทางที่ใจเย็นนะคะ จากนั้นหยิบยื่นของที่ อนุญาตให้ขว้างได้ (เช่นลูกบอล) มาให้แทนและต้องสอนลูกน้อย
ไปพร้อมๆกัน เช่น ห้ามขว้างรองเท้าจ้ะ แต่ลูกบอลขว้างได้จ้ะแล้วลูกน้อยจะค่อยๆทำความเข้าใจว่าสิ่งไหนขว้างได้
และสิ่งไหนขว้างไม่ได้เองค่ะ
สอนลูกน้อยไม่ให้มีพฤติกรรมความก้าวร้าว ในขณะที่กำลังเล่นอยู่นั้นหากเห็นว่าลูกน้อยเริ่มขว้างของใส่เด็กคนอื่นๆ
คุณแม่ต้องรีบห้ามในทันที ไม่ได้นะคะ อย่างนั้นเพื่อนเจ็บและทำโทษลูกด้วยการแยกลูกน้อยออกมาให้นั่งนิ่งๆ
30
วินาทีเพื่อให้รู้ว่าเค้าทำผิดและกำลังถูกลงโทษ (การทำโทษให้อยู่นิ่งๆในเวลาที่กำหนดสำหรับเด็กในวัยนี้ไม่ควรเกิน
1
นาทีค่ะ เพราะหากเกินกว่านั้นเด็กอาจจะจำไม่ได้ว่าเค้าทำอะไรผิด) นอกจากนี้หากคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกขว้างสิ่งของ
เมื่อมีอารมณ์โกรธ คุณแม่ควรสอนลูกน้อยให้ พูดเมื่อรู้สึกโกรธหรือไม่พอใจแทนการแสดงออกด้วยการขว้างสิ่งของ
บอกให้เค้ารู้ว่าสามารถที่จะมีอารมณ์โกรธได้แต่ไม่ควรขว้างสิ่งของ เช่น ถ้าน้องเอโกรธให้บอกคุณแม่นะคะ
อย่าขว้างของซึ่งคุณแม่ต้องสอนลูกด้วยน้ำเสียงและอารมณ์ที่ใจเย็น ไม่ควรตีลูก แต่ควรสอนด้วยเหตุผลให้เค้าเข้าใจค่ะ
ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการแก้ไขพฤติกรรมนี้ ดังนั้นคุณแม่ควรอยู่ใกล้ชิดกับลูกในขณะที่เค้าเล่นค่ะ
สำหรับของเล่นของลูกเมื่อลูกอยู่ในรถเข็นนั้น อาจจะใช้วิธีแขวนของเล่นไว้กับรถเข็นของลูกด้วยเชือกสั้นๆในระยะที่
ลูกเอื้อมถึง เมื่อลูกขว้างออกไปมันจะกลับมาที่เดิม นอกจากจะช่วยให้ลูกน้อยรู้ว่าของที่ผูกเชือกนั้นเมื่อขว้างออกไป
มันสามารถกลับมาได้เอง ยังทำให้เค้ารู้สึกสนุก และคุณแม่ไม่ต้องคอยตามเก็บอีกด้วยค่ะ 
การให้ลูกเก็บของทุกอย่างที่เค้าขว้างหรือโยนออกไปคนเดียวนั้นอาจเป็นงานที่หนักไปสำหรับเด็กวัยนี้ ดังนั้นจึงควรทำ
ช่วงเวลาที่คุณแม่และลูกน้อยช่วยกันเก็บของให้เป็นเรื่องน่าสนุกโดยอาจใช้คำพูดที่ดึงดูดความสนใจ เช่น มาดูซิว่าเรา
จะช่วยกันเก็บตุ๊กตาได้เร็วแค่ไหนหรือ น้องเอหาลูกบอลเจอมั๊ยคะ ลูกบอลอยู่ไหนนะเป็นต้น
ในเวลากินอาหารคุณแม่ก็ควรอยู่ใกล้ชิดกับลูกน้อยนะคะ ลูกน้อยอาจจะกินหรือหยิบอาหารด้วยมือได้ แต่เมื่อลูกจะ
ขว้างจาน คุณแม่ก็ควรห้ามและจับมือลูกไว้ไม่ให้ขว้างออกไป ซึ่งการที่คุณแม่อยู่ใกล้ชิดลูกในเวลากินอาหารนั้น
นอกจากจะสามารถควบคุมพฤติกรรมลูกได้แล้ว ยังสามารถช่วยลูกได้ทันหากอาหารติดคอลูกน้อยอีกด้วยค่ะ คุณแม่
บางคนอาจใช้ จานติดโต๊ะซึ่งเป็นจานสำหรับเด็กซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อป้องกันการขว้างโดยเฉพาะ โดยจานจะมีฐานเป็น
สูญญากาศดูดติดกับโต๊ะ ก็สามารถช่วยลดปัญหาได้เช่นกันค่ะ อย่างไรก็ตาม จานชามของลูกน้อยควรใช้ภาชนะที่เป็น
พลาสติกหรือภาชนะที่ตกไม่แตกนะคะ เพราะการใช้จานชามที่แตกได้นั้นอาจทำให้เกิดอันตรายได้ค่ะ
ไม่ควรให้ลูกกินอาหารในปริมาณที่มากเกินไป (ยกเว้นกรณีที่คุณหมอสั่งให้ลูกน้อยกินมากกว่าปกตินะคะ) เพราะเมื่อ
ลูกอิ่มและมีอาหารเหลือ ลูกก็จะเริ่มเล่นอาหารที่เหลืออยู่ค่ะ ดังนั้นเมื่อเห็นว่าลูกน้อยกินอิ่มแล้ว ก็ควรเอาลูกน้อย
ไปจากเก้าอี้กินอาหารของเค้า เพื่อไม่ให้เค้าเล่นอาหารที่เหลืออยู่ (ถ้ามี) นั่นเองค่ะ


วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเล่นบทบาทสมมติ...พัฒนาสมองลูกได้ by แม่สายป่าน

บทบาทสมมติ...พัฒนาสมองลูกได้
boy-toys-doctor.jpg



หลังจากที่เด็กๆ ได้สัมผัสและเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ต่างๆ ในช่วง 2 ปีแรกของชีวิตมาแล้ว ประสบการณ์ที่ดีจะยังฝังอยู่ในความรู้สึกและการรับรู้ของพวกเขา กระทั่งเมื่อก้าวสู่ปีที่ 3พวกเขาจะเปิดเผยสิ่งเหล่านั้นออกมาให้พ่อแม่ได้รับรู้ ผ่าน การเล่นบทบาทสมมติ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสมมติว่าตัวเองกำลังพูดคุยโทรศัพท์อยู่กับเพื่อนในจินตนาการ การสมมติว่าตุ๊กตาคือ น้องสาว ที่เธอต้องดูแล หรือแม้กระทั่งบอกว่าตนเองเป็นหมอ เป็นแม่ครัว ฯลฯ 
 การเล่นบทบาทสมมติจึงเป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการทำงานของสมองของเด็กในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องของการจดจำ การเลียนแบบพฤติกรรมของคนใกล้ชิด  (การทำงานของเซลล์กระจกเงา หรือ Mirror Neuron)  
การเล่นบทบาทสมมติเป็นพื้นฐานของความฉลาดแบบสร้างสรรค์  เด็กจะได้ประโยชน์จากการเล่นประเภทนี้อย่างมาก  ไม่ว่าจะเป็นการจับตะหลิวผัดข้าวผัด ได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมือ ฝึกการใช้สายตา การทอนเงิน เป็นการฝึกคิดเลข  การต้อนรับเพื่อนซึ่งเป็นลูกค้าถือเป็นการฝึกการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ  ได้เรียนรู้บทบาทที่ซับซ้อนมากขึ้น ในขณะเดียวการเล่นบทบาทสมมตินี้เป็นการช่วยให้เด็กได้ผ่อนคลายระบายความรู้สึกบางอย่างออกมาด้วยเช่นกัน
บทบาทของคุณ่พอคุณแม่ต่อการเล่นบทบาทสมมติของลูกคือ ปล่อยให้ลูกเป็นผู้นำการเล่นอย่างอิสระ ร่วมเป็นเพื่อนเล่นกับลูกด้วยก็ยิ่งดี  ร่วมพูดคุยกับลูก แล้วคุณแม่จะค้นพบหลายสิ่งหลายอย่าง ไม่เพียงประสบการณ์ ที่เขาพบเจอ แต่ยังรวมถึงความรู้สึกนึกคิดของลูกที่แสดงออกมาให้ได้รับรู้ผ่านการเล่นนี้ด้วย...แล้วคุณพ่อคุณแม่จะแปลกใจกับความคิดของลูกค่ะ
เล่นสมมติ...เพื่อพัฒนาสมอง

ถ้าคุณสังเกตการเล่นของเด็กวัย 2-4 ขวบ ก็จะเห็นรูปแบบการเล่นอย่างหนึ่งที่เด็กวัยนี้ช๊อบชอบ นั่นคือการเล่นบทบาทสมมติค่ะ ซึ่งเป็นการเล่นที่ไม่เพียงสร้างความเพลิดเพลินให้กับเด็กๆ เท่านั้น ยังช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา และการมีสมาธิด้วยค่ะ
เรามาดูกันนะคะว่าประโยชน์ของการเล่นบทบาทสมมตินี้ให้อะไรบ้าง

1. ทักษะทางสังคม เช่น ได้รู้จักแบ่งกันเล่น ผลัดเปลี่ยนกันเล่นบทบาทสมมตินั้นๆ ได้ฝึกการพูดคุยสนทนากันในเรื่องต่างๆ ที่เด็กเล่นกัน เช่น ถ้าเด็กกำลังเล่นเป็นพ่อแม่ ก็จะได้เรียนรู้บทบาทของพ่อแม่ หน้าที่ของพ่อแม่ หรือถ้าเล่นเป็นหมอพยาบาล เด็กๆ ก็จะได้เรียนรู้เรื่องการตรวจ บทสนทนาระหว่างหมอกับคนไข้ หน้าที่ของหมอ พยาบาล และคนไข้ เป็นต้น
การ เล่นบทบาทสมมตินี้จะช่วยส่งเสริมด้านจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ให้เด็กค่ะ ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นนาน เรียนรู้จักบทบาทที่ซับซ้อนมากขึ้น การแก้ปัญหาและการทำอะไรด้วยกัน หรือการทำงานเป็นทีม

กิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติ เป็นกิจกรรมกลุ่มที่ช่วยพัฒนาทักษะทางด้านสังคมของเด็กได้อย่างมาก เด็กได้เรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น เรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกัน รู้จักปรับตัวเข้าหากัน บางครั้งอาจจะแบ่งบทฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามให้กับเด็ก รวมถึงสอดแทรกให้เด็กรู้จักยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างและการเข้าใจบทบาทของตนเองและผู้อื่นโดยที่ไม่ไปก้าวก่ายในบทบาทของกันและกัน นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดความรักและสามัคคีด้วย

ไม่เพียงเท่านั้น ระหว่างที่เด็กๆ ได้เล่นบทบาทสมมติ ก็เท่ากับว่าเด็กๆ จะต้องเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทของตัวละคร เช่น ถ้าเด็กเล่นเป็นทหาร ก็จะทำท่าเดินเหมือนทหาร ก็เสมือนได้เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นการออกกำลังกายไปในตัวด้วย ที่สำคัญ การเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กเล็กจะช่วยให้เด็กได้ใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเต็มที่ เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้ทำงานสัมพันธ์กันได้ด้วย

 เห็นไหมคะว่ากิจกรรมบทบาทสมมติ เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อเด็กๆ อย่างมาก นอกจากความสนุกสนาน ยังเป็นการช่วยพัฒนาศักยภาพสมองของเด็กด้วย ดังนั้น พ่อแม่ก็อย่าปล่อยให้เวลาลอยนวลนะคะ ลองชักชวนลูกๆ มาเล่นบทบาทสมมติกัน รับประกันความสุขถ้วนหน้า

 ว่าแต่ลองสังเกตดูว่าบทบาทสมมติของลูกคุณส่วนใหญ่เลือกเป็นอะไรกันบ้าง เพราะเท่ากับเป็นการสะท้อนความในใจของลูกในช่วงเวลานั้นๆ ด้วย ถ้าเขามีภาพความประทับใจในเรื่องใด เขาจะเลือกจินตนาการในเรื่องประทับใจ หรือเรื่องที่ติดตรึงใจ รวมไปถึงอิทธิพลจากพ่อแม่ที่ปลูกฝังในเรื่องอะไรบ้าง
 2. ได้แสดงออกซึ่งอารมณ์ต่างๆ ผ่านการเล่นบทบาทสมมตินั้นๆ เช่น ความผิดหวัง กลัว เสียใจ น้อยใจ โกรธ อิจฉา ผ่านการเล่นบทบาทต่างๆ กับเพื่อนๆ ขณะเดียวกันก็ได้เรียนรู้วิธีจัดการ หรือคลี่คลายอารมณ์นั้นๆ ไปด้วย เป็นการฝึกให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องอีคิว และเรื่องความรู้สึกได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กในช่วงปฐมวัย เป็นวัยที่ชอบแสดงออกทางความรู้สึก เช่น เวลาดีใจหรือมีความสุขสนุกสนานก็จะหัวเราะกระโดดโลดเต้น แต่หากเวลาเสียใจหรือโดนขัดใจก็จะร้องไห้เสียงดัง กิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออกทางด้านอารมณ์ของตนเองอย่างเต็มที่ เป็นการสอนให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องอารมณ์ของคนเรามีหลากหลาย ทั้งดีใจ มีความสุข ร้องไห้ เสียใจ ทุกข์ใจ เศร้าใจ ฯลฯ และเมื่อเกิดความรู้สึกเหล่านั้น จะมีพฤติกรรมอะไรตามมา เป็นการสอนให้ลูกได้เรียนรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเองด้วย

นอกจากนี้ กิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติยังช่วยให้เด็กเป็นคนละเอียดอ่อน มีความเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่นจากการที่เด็กๆได้แสดงบทบาทสมมตินั้นด้วย


3. ความคิดสร้างสรรค์ เพราะในโลกของบทบาทสมมติ เด็กสามารถเป็นใครก็ได้ตามที่เขาต้องการ รวมทั้งสามารถทำในสิ่งที่ไม่เคยทำได้ เช่น เล่นเป็นคุณหมอ สามารถตรวจคนไข้ และให้ยาคนไข้ได้ เป็นต้นพบว่าเด็กที่ชอบเล่นบทบาทสมมตินี้ จะสามารถทำคะแนนทดสอบด้านความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้ดีค่ะ

4. มีระเบียบวินัย เพราะในการเล่นนั้น เด็กได้เรียนรู้เรื่องกฎเกณฑ์และฝึกวินัยในตัวด้วย เช่น ลูกกำลังเล่นเป็นแม่ที่ต้องพาตุ๊กตา (ลูก) เข้านอน ลูกกำลังเรียนรู้เรื่องเวลาที่ได้รับการฝึกจากแม่ไปในตัวค่ะ เหมือนเป็นการทวนวินัยหรือกฎเกณฑ์ที่ได้รับการสอนการฝึกในชีวิตประจำวันของ ตนเองไงคะ
อีกอย่างหนึ่งการ ใช้จินตนาการการเล่นเป็นตัวฝึกลูกในเรื่องระเบียบหรือวินัยต่างๆ ถือเป็นวิธีสอนเชิงบวกที่ชวนให้ลูกวัยนี้ปฏิบัติตามได้อย่างดีค่ะ เช่น ถึงเวลาอาบน้ำแล้ว แต่ลูกยังห่วงเล่นอยู่ คุณอาจนำน้องหมีของลูกมาพูดกับลูกว่า...ถึงเวลาอาบน้ำของน้องหมีแล้ว น้องหมีจ๋าชวนพี่พิมพ์ไปอาบน้ำด้วยดีกว่านะ...เพียงเท่านี้รับรองค่ะว่าเจ้า ตัวน้อยเป็นเลิกเล่นทีเดียว

5. เรียนรู้และรับการเปลี่ยนแปลง เพราะประสบการณ์มากมายที่ลูกได้เรียนรู้นั้นมีเพิ่มขึ้นทุกวัน มีเรื่องใหม่ๆ เข้ามาอยู่ตลอดตามการเติบโตค่ะ เช่น เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง การขับถ่าย การได้รับการเลี้ยงดู การที่แม่ต้องกลับไปทำงาน สังคมในเนิร์สเซอรี่ เป็นต้น แต่เรื่องเหล่านี้ก็อาจทำให้ลูกเกิดความเครียดขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งการเล่นสมมติจะเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้ลูกได้ผ่อนคลายกับประสบการณ์ ใหม่ๆ ที่เข้ามาค่ะ
 6.   ส่งเสริมทางด้านภาษา การเล่นบทบาทสมมติเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง บางครั้งลูกอาจจะพูดคนเดียว แต่ก็เป็นการพูดกับเพื่อนในจินตนาการ หรืออาจจะมีตัวละครที่เล่นด้วยกัน ก็จะทำให้มีการสื่อสารกันทางคำพูดและท่าทาง ยิ่งเป็นเด็กวัยหัดพูด เด็กที่เล่นบทบาทสมมติจะเกิดประโยชน์อย่างมาก เพราะเท่ากับช่วยพัฒนาการเรียนรู้ด้านภาษาให้กับเด็ก ซึ่งพ่อแม่สามารถสอดแทรกคำศัพท์ให้ลูกได้ด้วย ทำให้ลูกมีคำคลังได้เพิ่มมากขึ้น ยิ่งถ้ามีท่าทางประกอบจะยิ่งทำให้เด็กเรียนรู้ทักษะทางด้านภาษาได้ดียิ่งขึ้น

7. ส่งเสริมทางด้านความจำ เมื่อเด็กๆ ได้เล่นบทบาทสมมติต่างๆ เขาก็จำเป็นต้องจดจำบุคลิกท่าทาง หรือบทบาทที่ใกล้เคียงของตัวละครนั้นๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นบทบาทการสร้างจากจินตนาการ หรือบทบาทสมมติตัวละคร ล้วนแล้วต้องกระตุ้นเรื่องความจำด้วย อาจเป็นการจำจากประสบการณ์ในชีวิต หรือจำจากการเลียนแบบพฤติกรรมทางทีวี หรือสื่ออื่นๆ ซึ่งพ่อแม่ก็สามารถช่วยต่อยอดในการช่วยกระตุ้นความจำได้ด้วย ยกตัวอย่าง ลูกเล่นบทบาทสมมติเป็นหมี พ่อแม่ก็อาจช่วยกระตุ้นความจำว่าหมีมีลักษณะอย่างไร อาจชวนลูกคุยถึงสวนสัตว์ที่เคยไป แล้วพบเห็นว่าท่าทางของหมีเป็นอย่างไร แล้วชวนลูกคุยต่อไปถึงประเภทของหมีด้วยก็ได้

เห็นประโยชน์ของการเล่นสมมติมากมายเช่นนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมลูกให้สนุกได้โดยวิธีต่อไปนี้ค่ะ

1. เล่นเป็นเจ้าชายไปกับลูกเลย ถ้าลูกบอกว่าตนเองกำลังเป็นเจ้าหญิงอยู่ อย่าขัดจังหวะ ไม่สนใจ แสดงอาการเบื่อหน่ายการเล่นของลูก หรือเข้าไปควบคุมจัดแจงบอกให้ลูกเล่นอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ควรให้ลูกเป็นผู้นำและคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ตามเล่นไปกับลูกค่ะ

2. อนุญาต หากลูกจะนำหมอนอิง หรือลากโต๊ะในห้องมาวางเป็นป้อมปราการ โดยยอมปล่อยให้ลูกเล่นได้ในระยะเวลาที่กำหนด

3. ยอมลดอายุตัวเองลง หากลูกต้องการให้คุณเล่นเป็นเพื่อนซึ่งอยู่ในวัยเดียวกันกับเขา

4. อย่าปฏิเสธที่จะพาลูกไปข้างนอกด้วย หากเจ้าตัวน้อยยืนยันที่จะผูกผ้าขนหนู เพราะตอนนี้แกกำลังเป็นซูเปอร์แมนอยู่

5. บ่อยครั้งใช่ไหมคะที่คุณจะเห็นลูกวัยนี้ทำท่าพูดคุยกับใครสักคน ทั้งๆ ที่ไม่มีใครอยู่ตรงนั้น นั่นคือเพื่อนในจินตนาการของลูกค่ะ และถ้าลูกอยากให้คุณรู้จักกับเพื่อนคนนี้ อย่าปฏิเสธนะคะ แต่ควรเล่นไปกับลูกเลย

นอก จากจะเล่นกับลูกแล้ว บางครั้งการสนับสนุนด้วยข้าวของบางอย่างที่พอเหมาะพอควร ก็ช่วยให้ลูกสนุก ได้เรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพสมองในทุกวันที่เติบโตด้วยค่ะ