วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วิธีเพิ่มพลังศักยภาพสมองด้วยเทคนิค “แผนผังความคิด”

วิธีเพิ่มพลังศักยภาพสมองด้วยเทคนิค “แผนผังความคิด”


เพิ่มพลังศักยภาพสมองด้วยเทคนิค “แผนผังความคิด
                แสนล้านเซลล์ในสมองน้อยๆ จะถูกกระตุ้นให้ทำงานได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับการที่เด็กๆ ได้มีการฝึกจัดการระบบความคิดเชื่อมต่อข้อมูลที่มีอยู่ในสมองโดยการฝึกทำ Mind Maps ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ฝึกการสร้างแผนผังความคิดในสมอง รู้จักการนำข้อมูลมาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ และช่วยทำให้สมองสดใสนำไปสู่ความคิดใหม่ๆอย่างไร้ขีดจำกัด
                มาฝึกลูกน้อยสร้างแผนผังความคิดในสมอง ด้วยเกม แผนผังมหัศจรรย์ตามหาสมบัติล้ำค่า กันค่ะ
ฝึกลูกคิดเป็นระบบ...ด้วยเกมวาดแผนผัง
                การวาดแผนผังเป็นการฝึกกระบวนการคิดแบบ Mind Maps อย่างหนึ่ง ลองชวนลุกน้อยวัย 4-5 ขวบ เล่นเกมแผนผังตามหาสมบัติภายในบ้านกันค่ะ
                วิธีการเล่น...คุณแม่ตั้งโจทย์ขึ้นมาว่า วันนี้จะให้ลูกน้อยตามหาตุ๊กตาตัวโปรด ที่คุณแม่ซื้อให้เป็นของขวัญสำหรับเด็กดีโดนมีกติกาว่า ให้ลุกน้อยวาดแผนผังในบ้าน ซึ่งแต่ละจุดที่ลูกเดินผ่านคุณแม่จะติดสติ๊กเกอร์รูปต่างๆ ไว้ แล้วลองลองให้ลูกน้อยวาดแผนผังจากจุดที่ตัวเองเดิน เมื่อวาดครบทุกรูปก็จะได้ของขวัญแน่นอน หรือให้วาดแผนผังภายในบ้าน แล้วคุณแม่ทำสัญลักษณ์ไว้ตามมุมต่างๆ ให้ลูกน้อยเดินตามแผนผังแล้วจับคู่ว่าสัญลักษณ์ในแผนผังเหมือนกับสัญลักษณ์ภายในบ้านตรงมุมไหนบ้าง หรือจะเป็นรูปแบบเกมแผนผังแบบไหน ลองช่วยกันคิดกติกากับลุกน้อยก็ได้นะคะ
แผนที่มหัศจรรย์...ฝึกมิติสัมพันธ์ลูกน้อย
                การที่ลูกน้อยได้ฝึกวาดแผนผัง จะเป็นการฝึกมิติสัมพันธ์ได้อย่างดี เด็กจะสามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ มีการสังเกตว่าสัญลักษณ์แบบนี้อยู่ตรงไหนของบ้านบ้าง ถ้าเดินต่อไปจะเป็นห้องอะไร หรือควรจะเดินไปทางไหนต่อ เป็นการกระตุ้นสมองช่วยให้เกิดกระบวนการคิดวางแผนอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงความคิดไปสู่เรื่องต่างๆ ได้อย่างดีค่ะ
                Mind Maps เป็นเทคนิคที่ทำให้สมองมีการทำงานรวดเร็ว เสมือนเป็นการสะท้อนวิธีการคิดอย่างสร้างสรรค์ออกมา ให้เด็กๆ ได้วางแผนและทำงานเป็นขั้นตอน มีการรวบรวมข้อมูลที่ได้เห็น ได้อ่านแล้วนำมาจัดเรียงอย่างเป็นระบบ ช่วยให้สมองมีการทำงานอย่างมีคุณภาพ มีการเชื่อมต่อเซลล์สมองที่ดี ต่อยอดจินตนาการให้ลุกน้อยอย่างไม่รู้จบค่ะ

Mind Map มีผลต่อการจำอย่างไร?
หลายคนสงสัยว่า เหตุุใดแค่การลากปากกาสีชีดเส้นเชื่อมโยงสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน มีคำสั้นๆคอยให้ความหมายกำกับ จึงกลายเป็นเครื่องมือช่วยจำชั้นยอด 
"คนเราจะจำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้มากจากเหตุผลสองประการ คือสิ่งนั้นมีความสำคัญกับชีวิตเรา เราจึงจะจำ ส่วนข้อสองก็คือเกิดจากการทำซ้ำบ่อยๆ จนจำได้ไปเอง เช่น ชื่อเราจำได้ เพราะมีความสำคัญกับเรา  คนเราคิดว่าฟังครั้งเดียวเห็นแล้ว จะคิดว่าจะได้ แต่มันไม่ใช่ ต้องทำซ้ำๆ ถ้าใช้ Mind Map จะเน้นการทำงานของสมองทั้งสองซีก ซึ่งจะนำไปสู่ความจำ ยกตัวอย่างเหมือนเราเห็นตัวหนังสือ เราจะจำไม่ค่อยได้ แต่พอเป็นภาพเป็นสี เราจำง่ายขึ้น เพราะสมองเราจะจำเป็นภาพ เราก็เอาความคิดความรู้ที่มีมาทำให้เป็นภาพเป็นสี เราก็จะจำได้"

กฏง่ายๆของการใช้ Mind Map
1. แก่นแกน (ภาพหัวเรื่อง) มีขนาดพอเหมาะ ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป
2. ห้ามล้อมแก่นแกนด้วยเส้นรอบวงใดๆทั้งสิ้นเว้นแต่ว่ามีนัยสัมพันธ์กับเรื่องนั้นๆ
3. เส้นของกิ่งแก้วต้องเชื่อมโยงกับแก่นแกนเสมอ
4. กิ่งก้อยที่แตกออกมาจากกิ่่งแก้วควรมีสีเดียวกันเพื่อการจำง่าย
5. เส้นต้องมีความยาวสัมพันธ์กับคำหรือภาพ
6. ต้องแตกกิ่งที่จุดสุดท้ายของเส้นเสมอ
7. เส้นทุกเส้นของกิ่่งแก้วและกิ่งก้อยต้องเชื่อมโยงกัน อย่าเขียนให้ขาดหรือแหว่าง
8. คำยิ่งสั้นยิ่งดี
9. เวลาเขียน Mindmap บนกระดาษแผ่นเดียว อย่าหมุนกระดาษจนเป็นวงกลม จนทำให้คำบางคำกลับหัว
10. ห้ามเขียนภาพ หรือคำแล้วล้อมด้วยวงกลม หรือรูปเหลี่ยม
11. ห้ามเขียนคำ/ภาพปิดท้ายเส้น
12. ห้ามเขียนคำ/ภาพทั้งบนและใต้กิ่งเดียวกัน
13. ไม่ควรใช้วลีหรือประโยคใน Mind Map เลือกแต่คำที่เป็นประเด็นหลักเท่านั้น

ตัวอย่างที่ถูกต้องเป็นแบบนี้คะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น