วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

วันนี้แม่สายป่านมี 10 วิธีที่สามารถช่วยปรับพฤติกรรมเด็ก



วันนี้แม่สายป่านมีบทความมาแชร์เรื่องการปรับพฤติกรรมของเด็ก แต่ก่อนอื่นขอเล่าประสบการณ์์ที่แม่สายป่านเจอกับน้องออมใจมาเล่าใหัฟังก่อนนะคะ ก่อนที่จะมาแชร์วิธีปรับพฤติกรรมของเด็ก เมื่อสมัยที่น้องออมใจอยู่ในวัยที่เริ่มคลานได้ น้องออมใจเป็นเด็กที่มีความเป็นตัวเองสูงมาก และดื้อมาก เมื่อไม่พอใจน้องออมจะมีอาการอ๊วกทันที หรือเมื่อไม่อยากกินนมน้องออมใจเลือกที่อ๊วกออกมาได้ทันทีทันใด แต่วิธีที่ป่านจัดการกับน้องออมใจคือทุกครั้งก่อนที่จะลงโทษใดๆก็ตามเราจะพูดเหตุผลให้เค้าฟังก่อนเสมอ หากพูดเกิน 2 ครั้งแล้ว ยังมีพฤติกรรมเดิมเราจะมีการลงโทษทันที โดยจับน้องออมใจอยู่ในห้องเพียงลำพัง 1 นาที ซึ่งต้องเป็นห้องที่ปลอดภัย ที่แม่หลายๆคน เข้าใจว่าพฤติกรรมแบบนี้ โหดเกินไป เนื่องจากน้องยังเล็กอยู่ แต่เชื่อเถอะคะ ตั้งแต่แรกเกิด เด็กทุกคนจะสามารถรู้เรื่องได้ทุกอย่างแล้ว เค้ารู้วิธีที่จะจัดการกับพ่อแม่ ทำอย่างไร พ่อแม่ถึงจะยอมหรือปฏิบัติตามสิ่งที่เค้าต้องการ ดังนั้นมันจึงไม่เร็วเกินไปสำหรับเด็กเพื่อที่จะปรับพฤติกรรมเด็กตั้งแต่ยังแบเบาะ ก่อนที่จะสายเกินไป และวิธีนี้ก็ได้ผลจริงๆคะ แต่ต้องแจ้งไว้ก่อนว่าการที่จะทำวิธีแบบนี้ คนรอบข้างจะต้องปฏิบัติตามและมีทิษทางในทางเดียวกัน เพราะเด็กสามารถรับรู้ได้ถึงความรู้สึกของบุคคลอื่นในบ้านที่คอยตามใจเค้า ดังนั้นวิธีนี้จึงต้องปฏบัติกันทั้งบ้าน

วันนี้แม่สายป่านมี 10 วิธีที่สามารถช่วยปรับพฤติกรรมเด็ก

1. พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูควรที่จะปรับสิ่งแวดล้อม ภายในบ้านให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น รวมถึง คุณพ่อคุณแม่จะได้ไม่ต้องเหนื่อยในการห้ามปราบ หรือพูดสั่งลูกตัวเองบ่อยๆว่า "ไม่นะ อย่าทำแบบนั้นนะลูก" "หยุดเดี๋ยวนี้นะ" "อย่านะมันอันตราย" เพื่อป้องกันการเกิดอารมภ์เสียต่อกัน เนื่องจากเด็กวัยนี้ชอบปีนป่ายสำรวจสิ่งของต่างๆ

2. คุณพ่อคุณแม่ควร ชี้แนะโดยการบอกและสอนอย่างใจเย็น ว่าเหตุใดสิ่งนี้ถึงทำได้ หรือทำไม่ได้ และช่วยหาทางออกให้เด็กรู้ด้วยว่าควรทำอย่างไรแทน อาทิเช่น หาลูกคุณกำลังเอาปากกามาขีดเขียนหนังสือ ให้ควรรีบเอาหนังสือออกพร้อมกับบอกลูกคุณว่า "ตรงนี้เขียนไม่ได้นะลูก เดี๋ยวมันเสีย" พร้อมทั้งหากระดาษหรือสมุดวาดเขียนให้เค้าวาดรูปแทนทันที

3. คุณพ่อคุณแม่ควรจัดกิจวัตรประจำวัดให้สม่ำเสมอ เพื่อสร้างวินัยที่ดีให้กับลูกน้อง จัดตารางการกิน การนอนให้เป็นเวลา เพื่อให้เด็กปรับตัวง่ายขึ้น รวมถึงร่วมมือมากขึ้นในการทำกิจวัตรต่างๆ

4. วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจ เป็นวิธีที่ได้ผลที่ดีที่สุดกับเด็กเล็ก เพราะเด็กยังไม่มีความสนใจ หรือสมาธิค่อนข้างสั้น จึงสามารถหาวิธีเบี่ยงเบนความสนใจให้เด็กหันไปสนใจอย่างอื่นแทน เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่ต้องกาได้ เช่น หากลูกคุณกำลังกัดกระดาษหรือหนังสืออยู่ เบี่ยงเบนให้ลูกเล่นยางกัดแทน หรืออ่านหนังสือนิทานให้ฟัง

5. วิธีการไม่สนใจและเพิกเฉย ใช้เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ โดยที่พฤติกรรมนั้นต้องไม่เป็นอันตรายต่อตัวเด็กเอง หรือต่อผู้อื่นหรือสิ่งของ เช่นหากลูกกำลังโวยวาย อยู่ที่พื้นเพราะอยากได้ของ หรือไม่ได้ดั่งใจตามที่เค้าต้องการ ก็ควรปล่อยให้ลูกร้องไปเรื่อยๆและทำเป็นไม่สนใจ แต่อยู่ในสายตาของเราว่าลูกปลอดภัยดี สักพักเมื่อเด็กรับรู้ได้ว่าวิธีนี้พ่อแม่ไม่สนใจเค้า ลูกก็จะหยุดร้องไห้ไม่เอง เมื่อลูกหยุดร้องไห้แล้วถึงจะเข้าไปหา แล้วอธิบายเหตุผล แต่ห้ามเข้าไปโอ๋หรือต่อรองกับเด็ก

ุ6. การให้ได้รับผลตามธรรมชาติและการให้รับผิดชอบผลของการกระทำ จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองต่อไป ตัวอย่างเข่น หากลูกไม่ยอมกินนม ให้เด็กรู้สึกถึงความหิว เด็กจะยอมกินอาหารมื้อต่อไป

7. การเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเด็ก เด็กวัยนี้ชอบเลียนแบบพฤติกรรมผู้ใหญ่ การที่คนในบ้านแสดงพฤติกรรมที่ดีและสม่ำเสมอ แม้ว่าเด็กจะไม่เข้าใจเหตุผลของการกระทำทั้งหมด แต่เด็กจะค่อยๆเรียนรู้ และซึมซับว่าการที่ผู้ใหญ่ทำพฤติกรรมดังกล่าวนั้น ตัวอย่างเช่น ผู้ใหญ่เล่นกับสุนัขที่บ้านอย่างนุ่มนวล พูดคุยด้วยภาษาสุภาพและมีเหตุผล

8. การแยกให้อยู่ตามลำพังชั่วคราว หรือที่เรียกว่า Time Out เมื่อเด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ให้เด็กแยกออกมาอยู่ตามลำพังเพื่อสงบอารมภ์โดยมีวิธีการดังนี้
       - เตือนล่วงหน้าว่าจะให้เด็กทำอะไร เช่น หยุดรื้อของเดี๋ยวนี้แล้วไปนั่งที่เก้าอี้ตรงนั้น
       - หากเด็กไม่ยอมไปนั่งให้จูงมือและอุ้มเด็กไปนั่นเก้าอี้หรือจุดสงบที่เตรียมเอาไว้
       - กำหนดเวลาให้เด็กรู้ว่าต้องสงบนานเท่าไหร่ โดยมีข้อจำกัดว่าว่า ทุกๆ 1 ปี จะมีระยะเวลา Time Out 1 นาที เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่เข้าใจเรื่อเวลา ควรหานาฬิกาใหญ่ๆมาตั้งใกล้ๆ และชี้ให้เด็กดูว่าต้องนั่งนานเท่าใด
       - ระหว่างให้เด็กสงบ ไม่ควรให้ความสนใจหรือพูดตอบโต้กับเด็ก ไม่ควรให้เด็กนั่งอยู่บริเวณที่มีของเล่น โททัศน์ และไม่ควรขังในห้องน้ำ และห้องมืด
       - เมื่อหมดเวลาแล้ว ควรให้ความสนใจกับเด็ก พูดคุยกับปัญหาที่เกิดขึ้นและสอนด้วยเหตุผล และไม่ควรใส่อารมภ์หรือพูดยั่วยุให้โมโหต่อ

9. การสร้างแรงเสริมในทางบวกคือการชมเชยผ่านทางคำพูดหรือการแสดงออกผ่านทางสีหน้าท่าทางเช่นการโอบกอด ลูบศรีษะ การชมเด็กควรทำด้วยความจริงใจและเจาะจงกับพฤติกรรมที่เด็กทำ

10. การลงโทษ โดยทั่วไปไม่ควรลงโทษเป็นวิธีแรกหรือบ่อยๆเพราะจำทำให้เด็กไม่เข้าใจ ควรมีเหตุผลทุกครั้งที่ลงโทษ

การปรับพฤติกรรมเด็กให้ได้ผล ต้องเข้าใจพัฒนาการตามวัยของเด็กแล้วผู้เลี้ยงดูควรให้ความรัก ปฏิบัติต่อเด็กอย่างสม่ำเสมอ รู้วิธีการสื่อสารกับเด็กอย่างจริงจัง และต้องอาศัยการร่วมมือของทุกคนในบ้านแก้ปัญหาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น