วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทำอย่างไรเมื่อเจ้าตัวเล็กชอบขว้างสิ่งของ

ทำอย่างไรเมื่อเจ้าตัวเล็กชอบขว้างสิ่งของ


การขว้างสิ่งของเป็นสิ่งที่ลูกน้อยวัย 18 เดือนถึง 3 ขวบชอบทำค่ะ ซึ่งถือเป็นพัฒนาการปกติของเด็กวัยนี้เป็นการเรียนรู้
การปล่อยมือและการโยน ซึ่งต้องใช้ความสัมพันธ์ระหว่างมือและสายตาในการขว้างสิ่งของไปในทิศทางต่างๆ
นอกจากนี้ยังเป็นการเรียนรู้ทางอ้อมเกี่ยวกับ แรงดึงดูดด้วยว่าเมื่อสิ่งของถูกขว้างออกไปก็มักจะตกลงสู่พื้นเสมอ
Roni Leiderman รองคณบดีสถาบันครอบครัวของมหาวิทยาลัย Nova Southeastern ในฟลอริด้าให้คำแนะนำว่า
หากการขว้างสิ่งของของลูกน้อยไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายอะไร เช่นไม่ได้ทำให้กระจกแตก หรือไม่ได้ทำให้ใคร
ได้รับบาดเจ็บ ก็ไม่ควรทำโทษลูกน้อยค่ะ แต่ควรสอนให้เค้ารู้จักขอบเขตว่าอะไรที่สามารถขว้างได้และที่ไหน
ที่สามารถทำได้ โดยมีเกร็ดเล็กๆน้อยๆสำหรับคุณแม่ที่ลูกน้อยชอบขว้างสิ่งของดังนี้
สอนให้ลูกรู้ว่าอะไรที่สามารถขว้างได้และอะไรที่ห้ามขว้าง เช่น ให้ลูกเข้าใจว่าลูกบอล (ควรเป็นลูกบอลโฟมหรือ
ลูกบอลสำหรับเด็กที่เมื่อขว้างแล้วไม่ทำให้เกิดอันตรายนะคะ) สามารถขว้างได้ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรมีส่วนร่วม
ในการเล่นโยนลูกบอลกับลูกด้วย อาจเป็นการเล่นเกมกับลูก เช่น เกมโยนลูกบอลลงตะกร้า โยนก้อนหินลงในบ่อน้ำ
แต่เมื่อลูกเริ่มขว้างสิ่งของที่ไม่ควรขว้าง เช่น รองเท้า หรือของใช้อย่างอื่น คุณพ่อคุณแม่ต้องห้ามลูกด้วยน้ำเสียง
และท่าทางที่ใจเย็นนะคะ จากนั้นหยิบยื่นของที่ อนุญาตให้ขว้างได้ (เช่นลูกบอล) มาให้แทนและต้องสอนลูกน้อย
ไปพร้อมๆกัน เช่น ห้ามขว้างรองเท้าจ้ะ แต่ลูกบอลขว้างได้จ้ะแล้วลูกน้อยจะค่อยๆทำความเข้าใจว่าสิ่งไหนขว้างได้
และสิ่งไหนขว้างไม่ได้เองค่ะ
สอนลูกน้อยไม่ให้มีพฤติกรรมความก้าวร้าว ในขณะที่กำลังเล่นอยู่นั้นหากเห็นว่าลูกน้อยเริ่มขว้างของใส่เด็กคนอื่นๆ
คุณแม่ต้องรีบห้ามในทันที ไม่ได้นะคะ อย่างนั้นเพื่อนเจ็บและทำโทษลูกด้วยการแยกลูกน้อยออกมาให้นั่งนิ่งๆ
30
วินาทีเพื่อให้รู้ว่าเค้าทำผิดและกำลังถูกลงโทษ (การทำโทษให้อยู่นิ่งๆในเวลาที่กำหนดสำหรับเด็กในวัยนี้ไม่ควรเกิน
1
นาทีค่ะ เพราะหากเกินกว่านั้นเด็กอาจจะจำไม่ได้ว่าเค้าทำอะไรผิด) นอกจากนี้หากคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกขว้างสิ่งของ
เมื่อมีอารมณ์โกรธ คุณแม่ควรสอนลูกน้อยให้ พูดเมื่อรู้สึกโกรธหรือไม่พอใจแทนการแสดงออกด้วยการขว้างสิ่งของ
บอกให้เค้ารู้ว่าสามารถที่จะมีอารมณ์โกรธได้แต่ไม่ควรขว้างสิ่งของ เช่น ถ้าน้องเอโกรธให้บอกคุณแม่นะคะ
อย่าขว้างของซึ่งคุณแม่ต้องสอนลูกด้วยน้ำเสียงและอารมณ์ที่ใจเย็น ไม่ควรตีลูก แต่ควรสอนด้วยเหตุผลให้เค้าเข้าใจค่ะ
ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการแก้ไขพฤติกรรมนี้ ดังนั้นคุณแม่ควรอยู่ใกล้ชิดกับลูกในขณะที่เค้าเล่นค่ะ
สำหรับของเล่นของลูกเมื่อลูกอยู่ในรถเข็นนั้น อาจจะใช้วิธีแขวนของเล่นไว้กับรถเข็นของลูกด้วยเชือกสั้นๆในระยะที่
ลูกเอื้อมถึง เมื่อลูกขว้างออกไปมันจะกลับมาที่เดิม นอกจากจะช่วยให้ลูกน้อยรู้ว่าของที่ผูกเชือกนั้นเมื่อขว้างออกไป
มันสามารถกลับมาได้เอง ยังทำให้เค้ารู้สึกสนุก และคุณแม่ไม่ต้องคอยตามเก็บอีกด้วยค่ะ 
การให้ลูกเก็บของทุกอย่างที่เค้าขว้างหรือโยนออกไปคนเดียวนั้นอาจเป็นงานที่หนักไปสำหรับเด็กวัยนี้ ดังนั้นจึงควรทำ
ช่วงเวลาที่คุณแม่และลูกน้อยช่วยกันเก็บของให้เป็นเรื่องน่าสนุกโดยอาจใช้คำพูดที่ดึงดูดความสนใจ เช่น มาดูซิว่าเรา
จะช่วยกันเก็บตุ๊กตาได้เร็วแค่ไหนหรือ น้องเอหาลูกบอลเจอมั๊ยคะ ลูกบอลอยู่ไหนนะเป็นต้น
ในเวลากินอาหารคุณแม่ก็ควรอยู่ใกล้ชิดกับลูกน้อยนะคะ ลูกน้อยอาจจะกินหรือหยิบอาหารด้วยมือได้ แต่เมื่อลูกจะ
ขว้างจาน คุณแม่ก็ควรห้ามและจับมือลูกไว้ไม่ให้ขว้างออกไป ซึ่งการที่คุณแม่อยู่ใกล้ชิดลูกในเวลากินอาหารนั้น
นอกจากจะสามารถควบคุมพฤติกรรมลูกได้แล้ว ยังสามารถช่วยลูกได้ทันหากอาหารติดคอลูกน้อยอีกด้วยค่ะ คุณแม่
บางคนอาจใช้ จานติดโต๊ะซึ่งเป็นจานสำหรับเด็กซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อป้องกันการขว้างโดยเฉพาะ โดยจานจะมีฐานเป็น
สูญญากาศดูดติดกับโต๊ะ ก็สามารถช่วยลดปัญหาได้เช่นกันค่ะ อย่างไรก็ตาม จานชามของลูกน้อยควรใช้ภาชนะที่เป็น
พลาสติกหรือภาชนะที่ตกไม่แตกนะคะ เพราะการใช้จานชามที่แตกได้นั้นอาจทำให้เกิดอันตรายได้ค่ะ
ไม่ควรให้ลูกกินอาหารในปริมาณที่มากเกินไป (ยกเว้นกรณีที่คุณหมอสั่งให้ลูกน้อยกินมากกว่าปกตินะคะ) เพราะเมื่อ
ลูกอิ่มและมีอาหารเหลือ ลูกก็จะเริ่มเล่นอาหารที่เหลืออยู่ค่ะ ดังนั้นเมื่อเห็นว่าลูกน้อยกินอิ่มแล้ว ก็ควรเอาลูกน้อย
ไปจากเก้าอี้กินอาหารของเค้า เพื่อไม่ให้เค้าเล่นอาหารที่เหลืออยู่ (ถ้ามี) นั่นเองค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น