วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ดนตรีมีความเกี่ยวพันกันกับปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ และปัญญาทางด้านคณิตศาสตร์ได้อย่างไร



วันนี้แม่สายป่านมีบทความเกี่ยวกับดนตรีมีความเกี่ยวพันกันกับปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ และปัญญาทางด้านคณิตศาสตร์ได้อย่างไร

การเรียนดนตรีจะช่วยให้สมองส่วนที่ทำหน้าที่เป็นส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และความทรงจำ ซึ่งมีความไวต่อการตอบสนองต่อเสียงต่างๆ ทำงานได้รวดเร็วมากขึ้นการเล่นดนตรีทำให้ตัวเชื่อมระหว่างสมองซีกซ้ายและซีกขวา มีขนาดใหญ่กว่าคนทั่วไปเพราะนักดนตรีต้องใช้การประสานกันของมือทั้งสอง ในกาลเทศะที่เหมาะสม ภายในเวลาอันรวดเร็ว ตัวเชื่อระหว่างสมอง ๒ ซีก ต้องทำงานหนัก เพราะต้องทำการส่งผ่านข้อมูลไปมาอยู่ตลอดเวลา

การเล่นดนตรีตามโน้ต มีส่วนในการทำให้สมองส่วนซีรีเบลลั่มที่ทำหน้าที่ประสานงานควบคุม การเคลื่อนไหว การทรงตัว การรักษาสมดุลของร่างกาย และเป็นที่ที่บันทึกความทรงจำ ของการเรียนรู้ในแบบต่างๆ ที่จะกลายเป็นความจำอัตโนมัติ

เช่น ความชำนาญในการจดจำคำ และเก็บความจำที่เป็นกระบวนการที่ทำให้รู้เทคนิคการเรียนรู้ขั้นตอน ต่างๆ โดยอัตโนมัติเช่น วิธีการขับรถ วิธีการว่ายน้ำ และอื่นๆ มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ เพราะ กิจกรรมการเล่นดนตรีที่ต้องบรรเลงโน้ต ให้ครบตามที่ระบุเอาไว้ และต้องให้มีความไพเราะ มีเสียงที่ให้อารมณ์เหมาะสม กับเพลงภายในเวลาอันรวดเร็วนั้น เป็นเงื่อนไขที่ทำให้สมองส่วนซีรีเบลลั่มต้องทำงานมากขึ้นกว่าปกติ ด้วยเหตุนี้นักดนตรีจึงมีขนาดของซีรีเบลลั่ม ที่ใหญ่กว่าคนทั่วไปประมาณ ๕ %

สมองของเด็กตอบรับการกระตุ้นด้วยดนตรีได้ดีกว่าสมองของผู้ใหญ่ และการกระตุ้นด้วยดนตรี ยังกินพื้นที่การกระตุ้นทำงานของสมองทั้งส่วนหน้า และส่วนหลังได้อย่างทั่วถึง ทำให้สมองได้ทำงานพร้อมกันในหลายๆส่วน ทำให้มีการเพิ่มจำนวนของใยประสาทขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งเด็กจะสร้างใยประสาทได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ และยิ่งถูกกระตุ้นใช้บ่อยๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ (หู ตา จมูก ลิ้น ผิวหนัง) ใยประสาทก็จะแข็งแรง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น ข้อมูลก็จะเดินทางได้เร็ว ทำให้เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น

ข้อสรุปที่ชัดเจนคือการเล่นดนตรีทำให้ความสามารถทางสติปัญญา ในส่วนของมิติสัมพันธ์เพิ่มขึ้น และยังส่งผลให้เกิดความเข้าใจความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ ได้ดีขึ้นด้วย หากจะอธิบายความอย่างสั้นที่สุด ปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ก็คือ ความฉลาดในการทำความเข้าใจกับความสัมพันธ์ของมิติ ที่มีทั้งกว้าง ยาว สูง

หากเราจะวัดความฉลาดของมนุษย์โดยใช้มาตร IQ (Intelligence Quotient) ของ LMTerman ที่เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ ค.ศ.๑๙๑๖ มนุษย์ที่จัดว่ามีฉลาดก็ได้แก่ ผู้ที่มีความสามารถทางด้านภาษาและการคิดคำนวณ มาในปี ค.ศ.๑๙๘๓ Howard Gardner ก็เขียนหนังสือชื่อ Frams ofMind เพื่อนำเสนอว่า ความฉลาดของมนุษย์นั้นมีอยู่ ๗ ด้านด้วยกัน มาตรวัดตัวใหม่ที่เกิดขึ้นก็คือ MI (Multiple Intelligence) และต่อมาได้ในปีค.ศ.๑๙๙๕ ก็ได้เสนอเพิ่มเป็น ๘ ด้าน

ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่ Daniel Goleman เสนอมาตรวัดความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ (Emotional Quotient) ต่อสาธารณะผ่านทางข้อเขียนของเขาเช่นกันMI หรือ พหุปัญญา เป็นแนวคิดที่มองมนุษย์อย่างรอบด้าน ที่สำคัญคือมองว่า

มนุษย์ทุกคนต่างก็มีการเรียนรู้ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ที่เกิดขึ้นจากการมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมใน ลักษณะต่างๆ จนเกิดเป็นprofileเฉพาะที่แต่ละคนสั่งสมมาตลอดชีวิต สมองซึ่งเป็นเครื่องบันทึกความจำของแต่ละบุคคลจึงมีลักษณะตัวตามเจ้าของไปด้วยปัญญาหรือความสามารถของมนุษย์ ตามการจำแนกของการ์ดเนอร์มีอยู่ ๘ ด้านด้วยกันคือ

ปัญญาทางด้านภาษา
ปัญญาทางด้านตรรกและคณิตศาสตร์
ปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์
ปัญญาทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
ปัญญาทางด้านดนตรี
ปัญญาทางด้านมนุษยสัมพันธ์
ปัญญาทางด้านการเข้าใจตนเอง
ปัญญาทางด้านธรรมชาติวิทยา

ถ้าจะอธิบายอย่างยาว อ.อารี สัณหฉวี และอ.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ ก็ได้เขียนเอาไว้ในบทความ เรื่องพหุปัญญา ว่าปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence) คือความสามารถสูงในการมองเห็นพื้นที่ ได้แก่ นายพราน ลูกเสือ ผู้นำทาง และสามารถปรับปรุงและคิดวิธีการใช้เนื้อที่ได้มี เช่น สถาปนิก มัณฑนากร ศิลปิน นักประดิษฐ์ ปัญญาด้านนี้รวมไปถึงความไวต่อสี เส้น รูปร่าง เนื้อที่ และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้ยังหมายถึง ความสามารถที่จะมองเห็น และแสดงออกเป็นรูปร่างถึงสิ่งที่เห็นและความคิดเกี่ยวกับพื้นที่
ปัญญาทางด้านดนตรีมีความเกี่ยวพันกันกับปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ และปัญญาทางด้านคณิตศาสตร์ได้อย่างไร
ดร.เราส์เชอร์ไม่ได้ให้คำตอบที่ชี้ชัดลงไป แต่ได้นำตัวเลขมาสนับสนุนความสัมพันธ์ที่พบ ว่า

เด็กที่เรียนดนตรีสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง ครั้งละ ๓๐ นาที ทำกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะทางด้านมิติสัมพันธ์ และทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เรียนดนตรีการเรียนดนตรีมีผลต่อปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ และคณิตศาสตร์ของเด็กในวัย ๓-๕ ปีที่สุด รองลงมาคือ ๖-๙ ปี จากนี้ไปจะส่งผลอ่อนแรงลงไปเรื่อยๆทั้งปัญญาทางด้านตรรกและคณิตศาสตร์ ปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ และปัญญาทางด้านดนตรี ต่างก็เป็น ๑ ใน ๘ ด้านของพหุปัญญาที่พัฒนาได้ด้วยดนตรีทั้งสิ้น

...เรามายิงปืนนัดเดียวให้ได้นก ๓ ตัว กันดีไหม
ปัญญาทางด้านดนตรีจะมีความเกี่ยวพันกันกับปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ และปัญญาทางด้านคณิตศาสตร์ได้อย่างไรนั้น

ดร.เราส์เชอร์ไม่ได้ให้คำตอบที่ชี้ชัดลงไป แต่คำถามนี้เป็นคำถามที่จำเป็นต้องตอบ เนื่องจากคำตอบที่ได้มาจะช่วยให้เรามองเห็น ความสัมพันธ์ระหว่างปัญญาทั้ง ๓ ด้านได้ดีมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เรามียุทธศาสตร์ ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่ให้สำเร็จประโยชน์ในลักษณะบูรณาการได้จากการลงแรงทำงานในครั้ง เดียวแน่นอนว่าการเล่นดนตรีมีผลทำให้ปัญญาทางด้านดนตรีพัฒนา

แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ ผลจากการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า การเล่นดนตรีช่วยให้ปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์พัฒนาขึ้น และปัญญาทางด้านคณิตศาสตร์ก็พัฒนาขึ้นด้วย หากแต่อะไรทำให้เป็นเช่นนั้น ปัญญาทั้งสามด้านทำงานร่วมกันในลักษณะเช่นไร แน่นอนว่าการเล่นดนตรีมีผลทำให้ปัญญาทางด้านดนตรีพัฒนา แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ ผลจากการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า การเล่นดนตรีช่วยให้ปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์พัฒนาขึ้น และปัญญาทางด้านคณิตศาสตร์ก็พัฒนาขึ้นด้วย

หากแต่อะไรทำให้เป็นเช่นนั้น ปัญญาทั้งสามด้านทำงานร่วมกันในลักษณะเช่นไร ความสัมพันธ์ของมิติที่เราคุ้นเคยกันดีคือ มิติที่มองเห็นได้ จับต้องได้ มีความกว้างยาว สูง ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด แต่ยังมีความสัมพันธ์ของมิติอีกชนิดหนึ่งที่เข้าใจได้ยากและไม่มีรูปปรากฏให้เห็น ก็คือความสัมพันธ์ของมิติเวลา เรื่องของมิติสัมพันธ์ และคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์ที่แยกจากกันไม่ได้ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ เรขาคณิตที่เป็นการใช้ตรรกวิทยาสัญลักษณ์ ประกอบไปกับภาพเชิงมิติสัมพันธ์ หรือเรขาคณิตวิเคราะห์ที่ใช้ภาพเชิงมิติสัมพันธ์ประกอบกับสมการทางพีชคณิต

ในทางดนตรี แม้จะไม่มีมิติที่สัมผัสได้ด้วยตา และการจับต้อง แต่ถ้าเราถ่ายทอดความถี่ของเสียงออกมาเป็นภาพได้ เราก็จะเห็นเส้นความชัน หรือเส้นcontour ของเสียงในความถี่ต่างๆได้

เช่นกัน การสัมผัสกับมิติของเสียงจึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้จินตนาการ และการรับรู้ที่ละเอียด สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฟังจะต้องดี เรื่องที่ติดตามมาก็คือเรื่องของการมีสมาธิในการฟัง แลความมีสุนทรียภาพ มิติของดนตรีประกอบขึ้นจากท่วงทำนองของเสียงสูงต่ำ ดังเบา และจังหวะที่ประกอบเข้าด้วยกัน ความเป็นดนตรีประกอบขึ้นจาก

*ความสูงต่ำของเสียง (pitch) ที่ร้อยเรียงเป็นทำนองหลัก (melody) ความสูงต่ำนี้ให้จินตภาพของมิติด้านสูง-ต่ำ อ้วน-ผอม และหนัก-เบา

*ความดังเบา (dynamic) ซึ่งให้จินตภาพของมิติด้านใกล้-ไกล หรือใหญ่-เล็ก

*จังหวะช้าเร็ว หรือชีพจรจังหวะ (tempo) เป็นมิติทางเวลา

*ภายในชีพจรจังหวะ (tempo) ประกอบไปด้วยจังหวะ (rhythm) หรือการเน้นให้เกิดเสียงจังหวะที่มีความหนักเบา ถี่ห่าง ซึ่งให้จินตภาพในลีลาของการเดินทาง

*ในทำนองหลัก (melody) นอกจากจะประกอบด้วยความสูงต่ำของเสียงแล้ว ยังมี

- ความหนาแน่นและช่องว่าง (duration) ซึ่งให้จินตภาพโดยตรงเกี่ยวกับพื้นที่ และปริมาตร

- การเน้นสำเนียงของทำนองหลัก (accent) ที่จะก่อให้เกิดความรู้สึกถึงความหนา-บางอย่างประณีต

*นอกจากนี้ในโครงสร้างของกลุ่มเสียงในคีย์ต่างๆยังมีลักษณะของการจัดกลุ่มpattern อนุกรม และลำดับ ซึ่งคล้ายกับระบบจำนวนนับ และพีชคณิตในคณิตศาสตร์ด้วย

*ในการดำเนินไปของดนตรียังต้องอาศัยมิติทางเวลาเป็นแกนที่ดนตรีจะดำเนินไปดนตรีจึงแสดงถึงปรากฏการณ์ที่มีการเกิดก่อน เกิดหลัง ความสืบทอด และการขาดตอน ขององค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวไว้ข้างต้น เป็นการใช้จินตนาการในมิติทั้ง ๔ (กว้าง ยาว สูง และเวลา) อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับคณิตศาสตร์

สมองจึงต้องผลิตจินตนาการขึ้นมาเพื่อรับรู้เสียงของดนตรีที่มีความซับซ้อนที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างของเสียงที่มีความหนาแน่น ช่องว่าง ระยะ ความใกล้-ไกล ความสูง-ต่ำ ความใหญ่ ความเล็ก ความบางของเสียงที่แตกต่างกันไปในแต่ละโน้ต และจะยิ่งซับซ้อนมากขึ้นอีก เป็นหลายเท่า หากมีการเพิ่มแนวของเสียงประสานเข้าไปในเพลง ซึ่งจะทำให้มิติของเพลงยิ่งทวีคูณ เพิ่มขึ้นตามจำนวนของแนวประสานที่สอดใส่เข้าไป และตัวจินตนาการที่เกิดขึ้นก็ต้องมีโครงสร้าง ที่ซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ ตามความซับซ้อนของดนตรี

เพื่อที่จะจำลองเสียงที่ได้ยินให้เกิดขึ้นอีกครั้งในสมอง ดุจเดียวกับที่เคยได้ยินมานั่นเอง แต่กระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเราไม่รู้สึกถึงความล่าช้าในการถ่ายทอดสัญญาณด้วยเหตุนี้ สมองจึงต้องสร้างคุณสมบัติชนิดหนึ่งขึ้นเพื่อรองรับความสามารถ หรือปัญญาทางด้านดนตรี ซึ่งเป็นคุณสมบัติร่วมกันกับที่สมองต้องใช้ เมื่อต้องทำงานเกี่ยวกับเรื่อง ปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ และปัญญาทางด้านคณิตศาสตร์ ดังนั้นการพัฒนาปัญญาทางด้านดนตรี จึงมีความสัมพันธ์กันกับความก้าวหน้าของปัญญาทั้ง ๒ ด้าน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเอง

แต่ดนตรีมีฤทธิ์พิเศษที่ปัญญาในอีก ๒ ด้านไม่มี นั่นคือ ดนตรีเป็นมนต์ที่ทำให้ผู้เรียนเกิด ความเพลิดเพลิน มีสมาธิอย่างต่อเนื่อง เกิดการซึมซับรับรู้ทั้งในระดับรู้ตัว กึ่งรู้ตัว และไม่รู้ตัวขึ้นได้ อำนาจที่ว่านี้ทำให้การพัฒนาปัญญา(ทั้ง ๓ ด้าน) ด้วยดนตรีมีคุณอย่างเอนกอนันต์

ติดตามข่าวสาร บทความดีๆทั้งหมดได้ที่ www.aomjaitoy.com หรือ www.facebook.com/aomjaitoyfanpage

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น