วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

“ Using Your Word” by แม่สายป่าน


“ Using Your Word”

 ถ้าคุณแม่คุณพ่อคนไหนได้ดูหนังฝรั่งบ่อยๆในหนังครอบครัว เรามักจะเจอคำนี้ที่คุณพ่อคุณแม่พูดกับลูกบ่อยๆในหนัง เป็นอีกวิธีหนึ่งคะที่ช่วยสอนให้ลูกว่าตอนนี้ตัวเองรู้สึกอย่างไร วันนี้แม่สายป่านจะมาอธิบายวิธีใช้คำพูด ซึ่งขอบอกคะว่าได้ผลจริงๆคะ
การบอกกล่าวด้วยวาจา หรือที่เราเรียกันว่า “Using Your Word” แปลว่าอะไร
เมื่อคุณพ่อคุณแม่ถามลูกว่าให้ใช้คำพูดแปลว่า เรากำลังพยายามให้ลูกใช้ภาษาหรือคำพูดที่อธิบายความรู้สึกข้างใน ความต้องการของเด็กๆ ก่อนที่จะพยายามลงมือทำอะไรซักอย่าง การทำวิธีนี้จะเป็นวีธีที่ช่วยเชื่อมโยงเพื่อให้เด็กตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้องก่อนการลงมือกระทำ เพราะว่าการพูดถึงความรู้สึกของเค้า จะทำให้เค้าคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น โดยใช้อารมภ์ที่น้อยลง เหมือนศาสนาพุทธนั่นแหละคะ ว่าให้ รู้หนอ รู้หนอ โกรธหนอ โกรธหนอ เป็นการรู้สึกตัวทุกวินาทีว่าเรากำลังรู้สึกอะไร หลายๆครั้ง เด็กอาจจะทำไปโดยไม่ได้นึกถึง หรือขาดสตินั่นเอง การพูดแสดงความรู้สึกจึงเป็นทางช่วยที่จะคอยให้เด็กเข้าใจถึงความรู้สึกได้ดีขึ้น และมีวิธีการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น รวมถึงการพูดความรู้สึกจะทำให้พ่อแม่เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยที่เด็กจะไม่รู้สึกเก็บกดอยู่ข้างใน แม่สายป่านขออนุญาติยกตัวอย่างนะคะ จะได้เห็นภาพได้ชัดขึ้น

ณ วันหนึ่งในขณะที่น้องออมใจกำลังนั่งเล่นของเล่นกับเพื่อนข้างบ้าน แล้วเพื่อนข้างบ้านดึงของเล่นออกไปจากมือน้องออมใจโดยไม่ขอน้องออมก่อน น้องออมกำลังจะเอื้อมมือที่จะเข้าไปตีเด็กคนนั้น เมื่อแม่สายป่านเห็นจึงบอกไปว่า ใช้คำพูดซิลูก อย่าใช้กำลังหรือ “ Aommy ! Please Use your word” แทนที่แม่สายป่านจะพูดว่า อย่าตีนะลูกหรือ “Stop it” เป็นการเรียกสติให้กับน้องออมใจ และน้องออมก็จะตอบกลับมาว่า หนูรู้สึกโกรธที่เค้าแย่งของเล่นออกไปจากมือหนูหรือ “I feel angry when she stole the toy from my had” การที่ให้ลูกรู้สึกระบายความรู้สึกอยู่ข้างใน จะเป็นการเตือนสติให้ลูกเข้าใจว่าเค้ากำลังคิดอะไร และจะทำอะไร

ทำไมถึงยากกับการที่ให้ลูกใช้คำพูดในการแทนความรู้สึก

การใช้คำพูดมันจะมีหลายสเต็ป อย่างแรกลูกจะเข้าใจว่าเค้ากำลังรู้สึกอย่างไร และเด็กจะพยายามที่จะเข้าใจว่าตอนนี้เค้าอยู่ในช่วงหงุดหงิด หรือกำลังจะโกรธกันแน่ หลังจากนั้นเด็กจะพยายามหาคำพูดที่เหมาะสมกับความรู้สึกของเค้าในใจ ซึ่งบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องช่วยลูกให้ลูกเข้าใจ ในความแตกต่างในแต่ละคำพูด ยกตัวอย่างนะคะ
น้องออมใจกำลังหัวเราะอย่างมีความสุข แม่สายป่านก็จะบอกทันทีว่า “There is my happy Girl” หรือ ลูกสาวของแม่กำลังมีความสุขแม่สายป่านจะพยายามหาคำพูดเพื่อที่จะมาอธิบายความรู้สึกของน้องออมใจตอนนี้ เพื่อให้น้องออมใจเข้าใจว่าควรใช้คำพูดอะไร

เมื่อเด็กๆสามารถเข้าใจถึงความรู้สึกข้างใจของเค้าแล้ว เค้าก็เรียนรู้ที่จะแยกแยะคำ และความรู้สึกของเค้าตอนนั้นซึ่งเด็ก 1-2 ขวบสามารถเข้าใจและเรียนรู้ได้แล้ว ดังนั้นวิธีการนี้ควรฝึกตั้งแต่เด็ก ยกตัวอย่างนะคะ
ในขณะที่น้องออมใจกำลังเล่นตัวต่อและพยายามประกอบมันเข้าด้วยกัน จนกระทั่งน้องออมรู้สึกเหนื่อย แต่สุดท้ายน้องออมใจก็ประกอบไม่ได้ซักที น้องออมใจจึงขว้างของเล่นทิ้ง แม่สายป่านจึงพูดสวนไปทันทีว่า “Aommy, I know that you are angry at the puzzle, but we don’t throw the puzzles, Say, “I’m angry; Help me, Mommy,” and I will help you with the puzzle” หรือ ออมใจคะแม่รู้นะคะว่าหนูกำลังโมโหเกี่ยวกับตัวต่อ แต่เราไม่ควรโยนมันทิ้งนะคะ พูดตามแม่นะคะ หนูโมโหกับตัวต่อ คุณแม่ช่วยหน่อยได้มั้ยคะแล้วแม่จะช่วยหนู

อย่างเหตุการณ์ที่แม่สายป่านยกตัวอย่าง คือสาเหตุเกิดจากน้องออมใจพยายามต่อจนเหนื่อย จนทำให้เกิดความโกรธ เมื่อออมใจรู้สึกโกรธจึงขว้างของเล่น การพูดแบบนี้จะทำให้เด็กได้รู้ความเข้าใจระหว่าง ความเหนื่อยที่สามารถก่อตัวขึ้นมาให้เป็นอารมภ์โกรธ เข้าใจความรู้สึกของตนเองมากขึ้น

คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยเด็กๆในการสอนให้เด็กใช้คำพูดแทนความรู้สึกที่อยู่ข้างใน ขอยกตัวอย่างอีกเหตุการณ์หนึ่งนะคะ
น้องออมใจชอบเล่นกับหมาชื่อซุปปี้ ในขณะที่เล่นกันอยู่ด้วยความที่น้องออมตัวเล็ก และซุปปี้ตัวใหญ่เวลาซุปปี้กระโจนและเล่นกับน้องออมใจ จนทำให้น้องออมใจล้มลงกับพื้น ขณะที่แม่สายป่านเห็นเหตุการณ์ แม่สายป่านพูดว่า น้องออมใจ อย่าตีพี่ซุปปี้นะ หนูสามารถพูดด้วยน้ำเสียงที่โกรธว่า ไม่นะ ซุปปี้ อย่ากระโดด ฉันไม่ชอบแทน การที่แม่สายป่านทำแบบนี้จะช่วยลดการกระทำลงหรือที่เราเรียกกันว่า Physical expression

เห็นมั้ยละคะว่ามันไม่ยากอย่างที่คิดแต่ต้องใช้ระยะเวลา และความอดทนในการสอน ในช่วงระหว่างวันคุณพ่อคุณแม่ควรฝึกไปพร้อมๆกันโดยอธิบายว่า ให้ลูกเข้าใจว่าคุณพ่อคุณแม่กำลังรู้สึกอย่างไร รวมถึงน้ำเสียงที่กำลังบ่งบอกให้ลูกว่าตอนนี้คุณพ่อคุณแม่รู้สีกอย่างไร อย่าคิดว่าเด็กจะไม่เข้าใจนะคะ เพราะความจริงแล้วเด็กฉลาดมากกว่าที่คุณพ่อคุณแม่คิดเอาไว้ เค้าสามารถจับอารมภ์ จับน้ำเสียง อาม่าน้องออมใจมักสอนเสมอคะ ว่าอย่าดุลูกพร่ำเพรื่อ พยายามแยกน้ำเสียงให้ออกว่าอันนี้โกรธ อันไหนโกรธมาก พยายามแยกน้ำเสียงในแต่ละระดับ ว่าระดับเสียง และน้ำเสียงแบบนี้คุณแม่โกรธแล้วนะ วิธีทำแบบนี้ไม่ได้ใช้เฉพาะเวลาที่ลูกกำลังทำอะไรไม่ดี แต่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ตลอดคะ วิธีนี้จะเป็นการช่วยให้มีการสื่อสารที่ดีขึ้นไม่ว่าระหว่างพ่อแม่กับลูก หรือลูกกับเพื่อนๆ ซึ่งจะเป็นผลดีในระยะยาวในอนาคตเมื่อลูกโตขึ้น
วันนี้แม่สายป่านขอฝากเรื่องนี้ให้คุณพ่อคุณแม่ลองให้ปรับใช้กันดูนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น